ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม

Main Article Content

สโรชา เอี่ยมสุรนันท์
สุกัญญา แช่มช้อย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีตามแนวคิดการพัฒนาทักษะการหลอมรวม และ 2) เพื่อศึกษา
ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาทักษะ
การหลอมรวม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แนวคิดการบริหารวิชาการและทักษะ
การหลอมรวมเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ผู้ให้ข้อมูล 107 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี จำนวน 5 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและคณะครูโรงเรียน
สุรศักดิ์มนตรี จำนวน 102 คน ใช้วิธีการเลือกแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการตามแนวคิดการพัฒนาทักษะการหลอมรวมในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางและมาก ตามลำดับ 2) ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดของการบริหารวิชาการ คือ ด้านการจัดการเรียนรู้  รองลงมา คือ ด้านการประเมินผล และ ด้านการพัฒนาหลักสูตร เป็นลำดับสุดท้าย


ทั้งนี้โรงเรียนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนแนวทางการบริหารวิชาการ อันประกอบไปด้วยการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการหลอมรวม

Article Details

How to Cite
เอี่ยมสุรนันท์ ส., & แช่มช้อย ส. . (2023). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ตามแนวคิดทักษะการหลอมรวม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1224–1237. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.101
บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2554). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เสริม สินพรีเพรสซิสเท็ม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้ คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:บุ๊คพอบท์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนยสื่อเสริมกรุงเทพ.

โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี. (2563). รายงานประจำปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564, จาก http://www2.surasak.ac.th/งานประกันคุณภาพ/file/SARสุรศักดิ์มนตรี%20ปีการศึกษา%202563/1.SAR%20สุรศักดิ์มนตรีปีการศึกษา2563.pdf

โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี. (2564). สารสนเทศโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564).การพัฒนาหลักสูตร: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สันติธาร เสถียรไทย. (2564). ฉายภาพอนาคตประเทศไทยหลังวิกฤตโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565, จาก https://cdngarenanow-a.akamaihd.net/webth/corporate/report/TH-The-Digital-Generation-Survey-2021.pdf

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2563). AI GOVERNMENT FRAMEWORK. กรุงเทพฯ: พีเอเอ็น (ไทยแลนด์) จำกัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ภาวะสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5491

อมรรัตน์ ศรีพอ, รับขวัญ ภูษาแก้ว, และ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2563). ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, 10(3), 85-98.

Chutijirawong, N., Hora, V., Bunsupaporn, K., Bunsupaporn, K., & Bunyalug, C. (2020). The Thailand Digital Transformation Survey Report 2020.Retrieved November, 21 2021, from https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/th/Documents/technology/th-tech-the-thailand-digital-transformation-report.pdf

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

CreativeSkillset. (2013). fusion skills : Perspectives and Good Practice. Retrieved November, 21 2021, from https://www.screenskills.com/media/1551/fusion_report.pdf

Daugherty, P., & Wilson, J. H. (2018).Human + Machine: Reimagining Work in the Age of AI. Boston, Massachusetts: Harvard Business Review Press.

Inì, P. (2019). Artificial intelligence in italian manufacturing: growth potentials and criticalities.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.

Mitchell, J., & Guile, D. (2021). Fusion Skills and Industry 5.0: Conceptions and Challenges. In Insights Into Global Engineering Education After the Birth of Industry 5.0. IntechOpen.

Woo, W. L. J. I. I., & Magazine, M. (2020). Future trends in I&M: Human-machine co-creation in the rise of AI, 23(2), 71-73.