รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค 15

Main Article Content

พระปลัดสุมิตร มณีโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค 15 (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค 15 และ (3) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค 15 รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระภิกษุในพื้นที่เขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 จำนวน 387 รูป และเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้ปกครองคณะสงฆ์ และหัวหน้าหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 12 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยอิงอาศัยข้อมูลทุติยภูมิ มีลักษณะเป็นคำถามชนิดเลือกตอบ คำถามชนิดจัดอันดับคุณภาพ และคำถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะการบรรยาย


ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค 15 โดยภาพรวม ( = 4.20) อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.22) ด้านการศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.19) และด้านพัฒนา อยู่ในระดับมาก ( = 4.19)
(2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมการเมือง ความสามารถ โครงสร้างองค์กร และค่านิยมองค์กร เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค 15 ในทิศทางบวก ร้อยละ 56.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค 15 เป็นลักษณะของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ครอบคลุมวัฏจักรการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ประกอบด้วย การฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา ได้แก่ การจัดทำหลักสูตรการอบรมทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว การสนับสนุนการศึกษาโดยพิจารณาตามความต้องการทรัพยากรบุคคล และเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ด้านการบริหารและมีความประพฤติดี

Article Details

How to Cite
มณีโชติ พ. (2023). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ภาค 15. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 870–883. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.58
บท
บทความวิจัย

References

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25),103-118.

พระมหาสมเดช วงศ์ธรรม. (2559). พระสงฆ์นักพัฒนา: รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการจัดการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์วัฒนธรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระศรีพัชโรดม (ลักษณะ กิตติญาโณ). (2560). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดเถรานุวัตร (สุเทพ ดีเยี่ยม). (2560). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภาคเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสันติธรรมาภิรัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2558). การพัฒนารูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 15 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาสะอาด ปญฺญาทีโป (ดิษฐสวรรค์). (2558). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (พล อาภากโร) และคณะ (2557). การขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดหลักสูตรพระธรรมทายาท (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ (2556). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

Abraham, S.C. (2006). Strategic Planning a Practical Guide for Competitive Success. Ohio: Thomson South-Western.

David, F.R. (2012). Strategic Management: Concepts and Cases. (Edition 6). New Jersey: Prentice Hall.