ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

Main Article Content

พรนัชชา บงค์บุตร
เบญจวรรณ ศรีมารุต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดและทฤษฎีของฮิฟและฮัฟแมน และอเลนและเมเยอร์ เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 113 คน จาก 9 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ความผูกพันต่อองค์กรของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.669


การบริหารการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นการรวมกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีกระบวนการทำงาน ผู้บริหารสถานศึกษาทำงานร่วมกับกลุ่มของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยร่วมมือร่วมใจกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อหาวิธีการ แนวทางแก้ไข อันก่อให้เกิดองค์ความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการพัฒนาวิชาชีพของครูอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความสำเร็จของเป้าหมายองค์กรที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
บงค์บุตร พ., & ศรีมารุต เ. . (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 825–839. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.55
บท
บทความวิจัย

References

กัณฐิกา สุระโคตร. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนขนาดกลางในอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรองกาญจน์ นาแพร่. (2560). การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จีรวรรณ ผลไพร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญสันติ ประทุมปี. (2560). การศึกษาความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาคาทอลิกสังกัด สังฆมณฑลนครราชสีมา. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ,11(3), 343-355.

ปราณี ไชยภักดี. (2561).การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย”. ครั้งที่ 10. วันที่ 27-28 มีนาคม 2561. (1-14). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ปวีณา เจริญภูมิ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 6(2), 22-30.

พระครูสุตวรธรรมกิจ และ พระมหาพงศ์ทราทิตย์ สุธีโร. (2563). การพัฒนาครูไทยสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5(2), 2-3.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กาฬสินธุ์: ประสาน.

เอกพล พันธุ์โชติ. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติการเสริมสร้างพลังอำนาจครูกับความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Allen, N.J., & Meyer, J.P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. Journal of occupational psychology, 63(1), 1-18.

Hipp, K. K., & Huffman, J. B. (2003). Professional Learning Communities: Assessment Development Effect. Paper presented at the International Congress for School Effectiveness and Improvement Sydney Australia. (January), 5-8.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determinining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30, 607- 610.