ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย

Main Article Content

พิสัณฑ์ โบว์สุวรรณ
ภคมน โภคะธีรกุล
วรสิทธิ์ เจริญพุฒ
เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

บทคัดย่อ

เกษตรกรรม เป็นอาชีพของคนไทยมายาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยประกอบอาชีพการเกษตร ผลิตผลการเกษตร เป็นสินค้า ส่งออกที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นลำดับหนึ่งมาช้านาน โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกและพรรณนา ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย และนำเสนอแนวทางการจัดการปัญหาหนี้สิน ของเกษตรกรไทย


          บทความนี้ใช้การทบทวนเอกสารและการวิเคราะห์แก่นสาระ จากนโยบายของรัฐและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมเรียบเรียงข้อมูลนำมาประมวลหาข้อสรุปและเสนอแนะ แนวทางแนวทางการจัดการปัญหาหนี้สิน ของเกษตรกรไทย


          ผลการศึกษา พบว่าปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยมีสาเหตุหลักมาจาก (1) พฤติกรรมการดำรงชีวิตของเกษตรกรที่เปลี่ยนไปในทิศทางวัตถุนิยมตามกระแสสังคมที่อิงสังคม วัฒนธรรมชาติตะวันตกมาก (2) นโยบายของภาครับที่ผิดพลาดในการสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อการพาณิชย์ (3) การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรแบบนโยบายประชานิยมก่อให้เกิดหนี้สินที่สะสม


          แนวทางแก้ปัญหา (1) มุ่งเน้นที่พฤติกรรมการดำรงตนของเกษตรกร (2) เพิ่มเติมความรู้ทางการเกษตรและการเงิน การบัญชี (3) ปรับเปลี่ยนเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต (4) รัฐบาลควรเลือกกำหนดนโยบายทางการเกษตรในลักษณะที่ผสมผสานที่สามารถพึ่งพาตนเอง
(5) ภาครัฐควรกำหนดและนำนโยบายการเสริมสร้าง วิสาหกิจชุมชน ที่เป็นรูปธรรม (6) ยึดแนวคิดพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนิษฐา วนาสุข, จุฬารัตน์ โฆษะโก, และภาวนิศร์ ชัววัลลี. (2557). หนี้จากครัวเรือนและเศรษฐกิจภาคใต้ สัมมนา เศรษฐศาสตร์ศึกษาภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2020, จาก shorturl.asia/dZwmA

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). ข้อมูลกองทุน. กรุงเทพฯ: กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). รายงานการประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

จารุมา สปาลารัตน์ และกมลทิพย์ ละออกิจ. (2558).หนี้ครัวเรือน, ภาคเหนือ: The Financial Awareness Solution. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ณัชชาภรณ์ภัทร์ เพ่งพินิจ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเกษตรกรอาสา ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สงขลานครินทร์. วารสารพืชศาสตร์, 3(11), 1-6.

ธีรภัทร ประยูรสิทธิ. (2559). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เชียงใหม่: ChiangmaiDaily.

นิคม ยะอินตา. (2555). กลยุทธ์การจัดการหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรตามนโยบายกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(1), 1-36.

นิพนธ์ พัวพงศกร. (2557). ศึกษาหนี้เกษตรกรและแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานกองทุนภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

ประสงค์ พูนธเนตร. (2556). นโยบายรัฐบาลเพื่อการจัดการหนี้นอกระบบในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 32(6), 2-10.

ไพโรจน์ บัวสุข. (2557). วิธีการแก้ปัญหาหนี้ตามคำสอนของปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร,5(2), 20-28.

วรรณภา วงษ์สวรรค์, ขนิษฐา เสถียรพีระกุล, ปราโมช ศีตะโกเศศ และเกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง. (2559). แนวทางการแก้ไขปัญหาคนทวงหนี้ชาวนา: กรณีศึกษาลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ต.ไทยชนะศึก อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2556, จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MjI3Mzg3

วิทยา เจียรพันธ์. (2553). หนี้สินเกษตรกรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมชาย ชาญณรงค์กุล. (2557). Approval of the Farmer’s Welfare Fund 500 million baht. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2020, จาก https://www.cad.go.th/cadweb_eng/ewt_dl_link.php?nid=68

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). รายงานความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2020, จาก http://www.nesdb.go.th/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). ข้อมูลการผลิตทางการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020, จาก http://www.oae.go.th/ ewt_news.php?nid

สุชาดา กลิ่นขจร. และนวรัตน์ รุ่งกวี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อหนี้เกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษา อำเภอด่านขุนทดและโนนทรง.สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2020, จาก http://203.158.7. 63:8080/narinet/handle/123456789/210.

อารีวรรณ คูสันเทียะ. (2562). หนี้สินเกษตรกร ควรแก้จากจุดไหน วินัยทางการเงินหรือปัญหาเชิงโครงสร้าง. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2556, จาก https://www.landactionthai.org/menu-debt/item/ 2380-2019-06-09-06-31-51.html

Modigliani, F. (1986). Life Cycle, Individual Thrift, and Wealth of Nations. American Economic Review, 76(3), 297-313.