ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปัจจัยทางการตลาดในการเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี 2)ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 3)ศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้สูตรเครจซี่และมอร์แกน และมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าไคสแควร์ ค่าที, ค่าเอฟ และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณตามลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการตลาดในการเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.67, SD.=0.24) โดยให้ความสำคัญในด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด
(x ̅= 4.78, SD.=0.24) รองลงมาด้านด้านสถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย (x ̅= 4.74, SD.=0.29)
และด้านการส่งเสริมการตลาด (x ̅= 4.46, SD.=0.42) มีความสำคัญน้อยที่สุด
2. พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรีส่วนใหญ่เคยมาเลือกใช้บริการที่พัก 2 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน มีแฟน/คู่รักร่วมเดินทางมีการรับรู้แหล่งข้อมูลมาจากอินเตอร์เน็ต และมีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 2,001-5,000 บาท
3. ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าทุกด้านมีความสัมพันธ์ในระดับสูง โดยด้านความน่าเชื่อถือสูงสุด
(r= .842) การวิเคราะห์พหุเชิงชั้นความสัมพันธ์ตัวแปรที่โมเดลที่ดีที่สุด ได้แก่ (R2= 0.75, R2Adjusted=0.73, Sr2=3.34, F=15.32, p<0.001) ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ (β=0.72) และด้านราคา (β=0.44) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). SPORTS TOURISM. (รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจของการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของไทย ประจำปี 2560). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จิตรา ปั้นรูปและคณะ (2561). แนวทางการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(3), 438-457.
ชิตวร ลีละผลิน. (2561). ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่มีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทย ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย.วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(2),1-12.
ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคำนุช. (2558). ความต้องการเลือกใช้โรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี (รายงานการวิจัยกองทุนส่งเสริมการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณ.
ธัญพรนภัส แฟงสม. (2556). แนวทางการพัฒนาการตลาดของโรงแรมระดับ 4 ดาวเครือภายในประเทศในเขตเมืองพัทยา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(1), 49-60.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง. (2558). ปัจจัยที่กำหนดในการเลือกที่พัก รวมถึงวัดระดับความพึงพอใจของผู้เข้าพักที่มีต่อการบริการของสงขลาพาเลซ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ภาสกรณ์ อักกะโชติกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการที่พักประเภท โรงแรมรายวันของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มาลินี สนธิมูล และอิทธิกร ขำเดช. (2557). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(2), 204-217.
วัชระ ยี่สุ่นเทศ ทศพร มะหะหมัด และเยาวลักษณ์ แซ่เลี่ยง (2562). ปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพ การให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ.วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 1-11.
ศิวธิดา ภูมิวรมุนี (2562). แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 184 – 200.
ธีรวุฒิเอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.