ความต้องการและแนวทางการจัดสวัสดิการเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนบ้านบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

Main Article Content

ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง
อับดุลคอเล็ด อัรรอฮีมีย์
จิรัชยา เจียวก๊ก
สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความต้องการด้านการดูแลของผู้สูงอายุ และ (2) เสนอแนวทางการจัดสวัสดิการในการรองรับการดูแลผู้สูงอายุในเขตตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญที่คัดเลือกโดยการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ จำนวน 26 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยการจัดหมวดหมู่และกลุ่มประเด็นเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ผู้สูงอายุมีความต้องการในประเด็นการจัดสวัสดิการ จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ความต้องการด้านการดูแลผู้สูงอายุ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านที่อยู่อาศัยและความปลอดภัย และด้านนันทนาการนันทนาการ แนวทางในการจัดสวัสดิการในการรองรับการดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนเขตพื้นที่บ้านบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางในการดูแลสุขภาวะทางกายของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาวะทางจิตใจ การดูแลสุขภาวะทางสังคม และการดูแลสุขภาวะทางปัญญาของผู้สูงอายุ
ผลจากการศึกษาจะนำไปสู่การสร้างสวัสดิการของกองทุนชุมชนอื่นในจังหวัดที่มีบริบทชุมชนที่แตกต่างไปจากครั้งนี้หรือในจังหวัดใกล้เคียง และมีข้อเสนอแนะกองทุนควรเชื่อมโยงกับองค์กร หน่วยงาน สถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ต่อกองทุน ให้เข้ามาร่วมสนับสนุนในส่วนที่กองทุนยังไม่เข้มแข็ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: เจเอสการพิมพ์.

ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล และคณะ. (2559). แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(1), 569-545.

นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วน ตำบลศีรษะจระเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา

ประยุทธ พานิชนอก. (2553). กระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการเสริมสร้างคุณค่าภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ชุมชนเทศบาลตำบลบ้านกรวดปัญญาวัฒน์ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปิยะดา ภักดีอำนาจ และ พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2557). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุของ องค์การบริหารส่วนตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาการจัดการม 31(2), 121-151.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ. (2543). สรุปผลการดำเนินงานตามปฏิญญาระดับโลกฯ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ.

สมสมัย พิลาแดง และคณะ. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง, 3(1), 133-148.

อุทุมพร ศตะกูรมะ และคณะ. (2556). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ตำบลบ่อโพธิ์ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 129-138.

อิดเรส อาบู. (2549). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยมุสลิมในตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต). วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2552). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ด้วยหลัก promise model. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์. (2554). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคมวัตถุ 4 ของฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.