แนวทางการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

จุฑารัตน์ อำนวยวุฒิกุล
ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์
อนันต์ ธรรมชาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะองค์กร และปัจจัยการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ 3) เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยการวิจัยทั้งเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามจำนวน 304 บริษัท และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจาก หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ และหน่วยงานภาคเอกชนจำนวน 17 คน พบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พบว่าหน่วยงานภาครัฐยังมีการออกนโยบายการดูแลและปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ประกอบการภาคเอกชนนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
2. ความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแตกต่างกันตามปัจจัยคุณลักษณะองค์กรทุกด้านประกอบด้วย ประเภทของธุรกิจ ทุนจดทะเบียน จำนวนพนักงาน ระยะเวลาการประกอบกิจการ จังหวัดที่ตั้งสถานประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ด้านการจัดองค์กร ด้านการจัดคนเข้าทำงาน ด้านการอำนวยการ และด้านการประสานงาน ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมฯโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ด้านการวางแผน ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมฯโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย (1) แนวทางเชิงรุก (2) แนวทางเชิงรับ(3) แนวทางเชิงป้องกัน และ (4) แนวทางเชิงแก้ไข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). การดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุด. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562, จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/ pol_maptaput_newsWQM02.html.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก http://newweb.mnre.go.th/th/news/detail/5298.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2563). ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม: กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563, จาก https://www.diw.go.th/hawk/default.php.

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.(2563).ภาพรวม อีอีซี. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563, จากhttps://www.eeco.or.th/th/government-initiative.

ณัษฐนนท ทวีสิน. (2558). ปัจจัยและผลลัพธ์ของนวัตกรรมการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคเอกชนกลุ่มบริษัทในเขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พระมหาจักรกฤษ ทินฺนปญฺโญ. (2562). ความร่วมมือในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลัก CSR ของภาคเอกชน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2563). ความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562, จาก https://www.eeco.or.th/

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2563). เกี่ยวกับ อีอีซี ต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.eeco.or.th/th.

องค์การสหประชาชาติ. (2015). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs). สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563, จาก https://sdgs.nesdc.go.th/.

อัฟซา อาแว. (2560). ทางเลือกเชิงกลยุทธ์เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและการนำไปปฏิบัติมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

Carroll, A. B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward the Moral Management of Organizational Stakeholders. Business Horizons, 34(4), 39 – 48.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Gulick, L. Urwick, L. (1937). The POSDCoRB concept consists of tasks. Retrieved January 29, 2013, from https://www.toolshero.com/management/posdcorb-theory/