การเสริมสร้างความกรุณาต่อตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะซึมเศร้าโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม

Main Article Content

สุพัตรา เกตุสุข
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์
ครรชิต แสนอุบล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความกรุณาต่อตนเองของนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า 2) เพื่อเปรียบเทียบความกรุณาต่อตนเองของนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าหลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความกรุณาต่อตนเองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีคะแนนจากภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ตั้งแต่ 9 คะแนนลงมา จำนวน 275 คน และกลุ่มที่สองเป็นการเลือกอย่างเจาะจงกับนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้า และมีคะแนนความกรุณาต่อตนเองตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาและสมัครใจเข้าร่วม จำนวน 16 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นแบบวัดความกรุณาต่อตนเอง และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความกรุณาต่อตนเอง สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง และสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้ามีความกรุณาต่อตนเองของอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักเรียนมีภาวะซึมเศร้าหลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มมีความกรุณาต่อตนเองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มมีความกรุณาต่อตนเองสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธรณินทร์ กองสุข และคณะ. (2561). ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์วินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(4), 321-334.

โปรยทิพย์ สันตะพันธุ์, ศิริญพร บุสหงส์, และเชาวลิต ศรีเสริม. (2562). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: บทบาทพยาบาล. วารสารเกื้อการุณย์, 26(1), 187-199.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2561). บทวิจารณ์หนังสือ (Book review). Theory and Practice of Group Counseling. California. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1), 277-280.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2561). การให้คำปรึกษากลุ่ม. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์เรชั่น.

วิจิตร แผ่นทอง, วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์, และ พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 12(2), 52-67.

American Psychiatric Association. (2017). Quality Measures for 2017 MIPS Quality Category Reporting. Washington, DC. Retrieved May 8, 2020, from https://www.psychiatry.org/patients-families/ depression

Coaston, S. C., & Lawrence, C. (2019). Integrating self-compassion across the counselor education curriculum. Journal of Creativity in Mental Health, 14(3), 292-305.

Corey, G. (2012). Theory and Practice of Group Counseling. California: Thomson Brooks.

Gelso, J., & Fretz, B. R. (2014). Counseling psychology. American Psychological Association, 393-416.

Germer, C. K., & Neff, K. D. (2013). Self-compassion in clinical practice. Journal of clinical psychology, 69(8), 856-867.

Maher, M. J., & Parker, I. (2018). Racism and cultural diversity: Cultivating racial harmony through counselling, group analysis, and psychotherapy. London: Routledge.

Neff, K. D. (2003). Self-compassion: An alternative conceptualization of a healthy attitude toward oneself. Self and identity, 2(2), 68-90.

Raes, F. (2011). The effect of self-compassion on the development of depression symptoms in a non-clinical sample. Mindfulness, 2(1), 33-36.

Reyes, D. (2011). Self-Compassion: A Concept Analysis. Journal of holistic nursing. official journal of the American Holistic Nurses' Association, 30(2), 81-89.

Thompson, R. A. (2003). Counseling techniques: improving relationships with others, ourselves, our families, and our environment. (2nd ed.): New York: Routledge.

World Health Organization. (2017). Depression and Other common mental disorders: Global health estimates. Geneva: World Health Organization.