การดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 2

Main Article Content

เทพพร บุตรดาน้อย
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล
นิพนธ์ วรรณเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษาตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 234 คน  โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  


ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน รองลงมาคือ
ด้านการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม และด้านส่งเสริมการศึกษา 2) เปรียบเทียบการดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบลในอำเภอท่ามะกามีปฏิบัติการมากกว่าโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลในอำเภอพนมทวน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จตุพร ทั่งทอง. (2555). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนของโรงเรียนดีประจำตำบล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิติพันธุ อวนศรี และ วัลลภา อารีรัตน. (2557). การดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษารอยเอ็ด เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแกน, 8(3), 87-95.

นพรัตน์ ชัยเรือง. (2559). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาวินัยนักเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนดีประจำตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(2), 159-174.

รัฐธรรมนูญไทย. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วชิรพันธุ์ เสียมภักดี. (2562). สภาพและแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนประชารัฐ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรวัตร วิริยะพันธ์. (2560) สภาพการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นพวัลย์ อุตมัง, พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์ และ ชำนาญ จันทเหี้ยม. (2558). การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 9(3), 128-134.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. (2562). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2562. กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). โครงการศึกษาการดำเนินโครงการ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) ปีการศึกษา 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุชาติ เอกปัชชา, สุทธนู ศรีไสย์ และ จินต์ วิภาตะกลัศ. (2557). ประสิทธิผลการบริหารจัดการโรงเรียนดีประจำตำบลในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 9(1), 47-58.

ศักดิ์นิรันดร์ วงษ์ศรีแก้ว, วิชิต กำมันตะคุณ และ ยุวธิดำ ชาปัญญา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานในจังหวัดยโสธร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 79-88.

นคร ปราบมนตรี และ รัตนา กาญจนพันธุ์.(2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษา สำหรับนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สังกัดสำนัก บริหารงานการศึกษาพิเศษ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(4), 123-137.

Ahmeda, S., Adnana, M., Janssensa, D., Yasara, A. ul. H., & G. Wetsa, G. (2018) air auality based informational intervention framework to promote healthy and active school Travel. ScienceDirect Procedia Computer Science, 141(2018), 382–389.

Lee, M. (2013). Exploring Principal Capacity to Lead Reform of Teaching and Learning Quality in Thailand. International Journal of Educational Development, 33(4), 305-315. http://dx.doi.org/ 10.1016/j.jedudev.2012.03.002.