ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อการรู้เศรษฐศาสตร์ ในเด็กปฐมวัย

Main Article Content

นิตยา อิ่มหิรัญ
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรู้เศรษฐศาสตร์ในเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสุเหร่าใหม่ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ คือ โครงการนม โครงการกล้วย 2) แบบประเมินการรู้เศรษฐศาสตร์ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความขาดแคลนและการเลือก ด้านการวางแผนการเงิน และด้านบทบาทการเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ มีคะแนนเฉลี่ยการรู้เศรษฐศาสตร์ในเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ ก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.03 และหลังการจัดประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.88 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.10 โดยเด็กปฐมวัยมีการพฤติกรรมการรู้เศรษฐศาสตร์เพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการเงิน ด้านบทบาทการเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค และด้านความขาดแคลนและการเลือกตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กานต์กมล นาบุญพัฒนา. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงการผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการเงินของเด็กปฐมวัย โรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2555). เศรษฐศาสตร์ เล่มเดียวอยู่ หนังสือเรียนเสริมวิชาเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.

ประทุม อังกูรโรหิต. (2543). ปรัชญาปฏิบัตินิยม : รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2548). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542).การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย.กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.

วรนาท รักสกุลไทย และคณะ. (2559). สุดยอดเทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบครูมืออาชีพ “การสอนแบบโครงการ” (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: แฮปปี้ เลิร์นนิ่ง

วัฒนา มัคคสมัน. (2555). การศึกษาประสิทธิผลของการเรียนการสอนชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Chard, S. C. (2014). Documenting Children Learning: Assessment and Evaluation in the Project Approach. Ney Jersey: Ablex.

Chard, S. C. (2014). The Project Approach: A Practical Guide for Teachers. University of Alberta, Edmonton, Canada. August 15, 2019, from http://www.projectapproach.org.

Borg, F. (2017). Kids, cash and sustainability: Economic knowledge and behaviors among preschool children. Sammy King Fai Hui, The Education University of Hong Kong, Hong Kong. Retrieved August 20, 2019, from https://doi.org/10.1080/2331186X. 2017.1349562.pdf.

Federal Reserve Bank of St. Louis. (2015). Kiddyn mics An Economics Curriculum for Young Learners. Econlowdown Click. Teach. Engage. Retrieved October 20, 2019, from https://www.stlouisfed.org/ education/kiddynomics-an-economics-curriculum-for-young-learners.pdf.

Pennsylvania Department of education. (2014). PRE-KINDERGARTEN Office of Child Development and Early Learning. Pennsylvania Department of Education. Retrieved October 15, 2019, from https://www.education.pa.gov/Documents.pdf.

Utah State Office of Education. (2003). Elementary CORE Academy. Academy Handbook Kindergarten. Retrieved October 15, 2019, from https://academy Handbook Kindergarten.pdf.