รูปแบบการเปลี่ยนผ่านอัตลักษณ์ไปสู่การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ

Main Article Content

สุชาติ พันธุ์ลาภ
นพพร จันทรนำชู

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามุมมองจากประสบการณ์ในเรื่องความพิการ 2) รูปแบบการเปลี่ยนผ่านอัตลักษณ์ไปสู่การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการและ 3) แนวทางการใช้รูปแบบการเปลี่ยนผ่านอัตลักษณ์ไปสู่การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นคนพิการที่เคยผ่านประสบกาณ์การดำรงชีวิตอิสระที่มีมุมมองจากประสบการณ์ความพิการ จำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการดำรงชีวิตอิสระ ผู้บริหารและคนพิการที่สามารถสร้างอัตลักษณ์ใหม่ในการดำรงชีวิตอิสระ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ระดับลึกตามกรอบที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่า 1) คนพิการเชื่อว่าความพิการเป็นบาปกรรมนำไปสู่การมีอคติทำให้เป็นผู้ด้อยโอกาสนำและมีการเลือกปฏิบัติ 2) รูปแบบการเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ประกอบด้วย 2.1) รูปแบบการสื่อสารการทำความเข้าใจเส้นทางการดำเนินชีวิตในสังคมการให้คำปรึกษาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2.2) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้การฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระ 2.3) รูปแบบการฟื้นฟูด้านการศึกษาปรับเปลี่ยนบ้านเป็นโรงเรียนเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ 2.4) รูปแบบการรวมกลุ่มสร้างผลิตภัณฑ์ มีการพิทักษ์สิทธิ์ทำให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรี 2.5) รูปแบบการมีส่วนร่วมของสมาชิกในด้านการศึกษาและการแก้ปัญหาของตน ร่วมกับชุมชนโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยใช้กระบวนการกลุ่ม 3) แนวทางการวางแผนทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต โดยการสร้างความตระหนักต่อการมีจิตสาธารณะเข้าใจความเป็นมนุษย์นำไปสู่การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ การนำกระบวนทัศน์ใหม่ที่มีความสำคัญต่อคนพิการในสังคม การสร้างความเท่าเทียมในสังคม ตื่นตัวและมีความคิดใหม่ ๆ การสร้างสรรค์ การสร้างความรู้ความเข้าใจเปลี่ยนทัศนคติในทางที่ดีเอื้อต่อสังคมโดยรวม ทำให้สังคมมีมุมมองต่อคนพิการว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ พันพึ่ง.(2556). นิยามความพิการและแนวคิดเรื่องความพิการ. กระเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2560) ทศวรรษของพัฒนาการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการใน ประเทศไทย 2550-2560. วารสารการวิจัยการบริหารการ พัฒนา, 9(2), 181-188.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2558). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการ ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563, จาก http://dep.go.th/th/page.

ขัตพันธ์ ชุมนุสนธิ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังความสามารถในการจัดการตนเอง. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2),147-161.

พงษ์เทพ สันติกุล. (2552). คนพิการในงานวิจัย:เข้าใจคนพิการผ่านตัวหนังสือ. กระเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

ทวี เชื้อสุวรรณทวี. (2549). รายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นฉบับสมบูรณ์ โครงการรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการที่เหมาะสมกับชุมชนพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธนพล แสงจันทร์. (2555). การเสริมสร้างเครือข่ายการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ กรณีศึกษา : ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการพุทธมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

นัสรินทร์ แซสะ. (2018). การศึกษาพัฒนาการ ทักษะทางสังคมของเด็กพิการที่เรียนในรูปแบบเรียนรวมที่ โรงเรียนวัดกลางเกร็ด กรณีศึกษาสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ บ้านเฟื่องฟ้า จังหวัด นนทบุรี. Journal of Social Synergy, 9(3), 34-47.

ปิยะพิมพ์ กิติสุธาธรรม. (2554) การยอมรับและการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครอบครัว (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชุพรรณ ทินนบุตรา. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการที่ใช้รถเข็นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(1), 210 – 229.

ศิริพร ตันทโอภาส. (2562). การวางแผนการเปลี่ยนผ่านจากบ้านสู่โรงเรียน: แนวทางการเช้าถึงโอกาสทางการศึกษาของเด็กพิการในพื้นที่ดอยวาวี. Sikkhana, 6(7), 60.

อัฐมา โภคาพานิชวงษ์. (2549) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในอำเภอบ้านค่ายจังหวัดระยอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(2), 71–72.

Edward, W. T. (2017) . A Family Systems Perspective on Supporting Self-Determination in Adults with Intellectual Disabilities During Transitions (Doctoral dissertation). Université d'Ottawa/University of Ottawa.

Gibson, B. E. (2006). Disability, connectivity and transgressing the autonomous body. Journal of Medical Humanities, 27(3), 187-196.

Goffman (1963 cited in Cobb, 1976 Crisp, R. (1993). Personal responses to traumatic brain injury: A qualitative study. Disability, Handicap & Society, 8(4), 393-404.