การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบนิเวศชุดการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ 5E

Main Article Content

ชนิดาภา ยาประกัลป์
เจริญวิทย์ สมพงษ์ธรรม
ศิริพร อยู่ประเสริฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบนิเวศชุดการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบุณฑริกวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี
4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องระบบนิเวศชุดการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 แผน 2) ชุดกิจกรรมประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ 5E จำนวน 5 ชุด
3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เรื่องระบบนิเวศจำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E มีลักษณะมาตรวัดประเมินค่า (Rating Scale)
5 ระดับ จำนวน 4 ด้าน รวม 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมุติฐานใช้สูตร t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า


1.ผลการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบนิเวศ ชุดการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีมาก นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก


2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบนิเวศ ชุดการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5E แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ชม ภูมิภาค. (2548). เทคโนโลยีการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ชรินรัตน์ จิตตสุโถ. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยส่งมีชีวิตและชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตศึกษา, 5(3), 67-74.

ณฐกรณ์ ดาชะอม. (2553). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E และวิธีการทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอน. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุธาทิพย์ คณโทพรมราช. (2553). ผลการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ผังกราฟิกประกอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Apple white, P. B.. (1965). Organization Behavior. New York : Random House.

Bodolus, J.E.. (1987). The Use of Concept Mapping Strategy to Facilitate Meaningful Learning for Nith Grade Student in Science. Dissertation Abstracts International, 477(3): 3387 – A.