การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 10 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

รุ่งฤดี คำปัน
สุรางคนา มัณยานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 10 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 10 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2563 มีครูผู้สอนทั้งหมด จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ .67-1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) อยู่ระหว่าง .48 - .92 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 10      สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ดังนี้ 1) ด้านการวัดและประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 2) ด้านการนิเทศการศึกษา 3) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 5) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ 6) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามลำดับ


จากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน
ให้มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างงานวิชาการที่ดีให้กับผู้สอนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไกรวัลย์ รัตนะ. (2556).บทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 9(1), 5-9.

ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2564). บริหารความเสี่ยงอย่างไรให้องค์กรไร้วิกฤต. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 340-351.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

ชินวัฒน์ ปานมั่งมี. (2563). ภาวะผู้นำเชิงคุณภาพของผู้บริหารกับการดำเนินงานวัฒนธรรมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 686-699.

ปณิธฑิตา จรรยาเลิศ. (2556). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4 (สะเดาใหญ่ ตาอุด ศรีตระกูล) อำเภอขุขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชธานี.

เพชร์ลัดดา ขันทองดี. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษากับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 653-671.

ศรีฟ้า ศรีพรหม. (2556). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสหวิทยาเขต 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จังหวัดอุบลราชธานี (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชธานี.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 1-18.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). คู่มือมาตรฐานการตรวจราชการแบบบูรณาการโครงการพัฒนาระบบการตรวจราชการแบบบูรณาการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุปราณีย์ พิรักษา. (2563). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารตามความคิดเห็นของบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 2(1), 21-30.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.

Bugg, K. A. (2001). Quality assurance and improvement planning in Illinois HighSchools (Ph.D. Educational Administration). The Illinois State University.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Watamura, K. P. (2000). Child-centered learning versus direct instruction in mathematics in the elementary classroom. New York: Harper and Row