การบริหารการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 17 รูป ประกอบไปด้วย 5 กลุ่ม จากการศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ จังหวัดสมุทรสงคราม ผลการศึกษาพบว่า ด้านบุคลากร เจ้าคณะพระสังฆาธิการให้ความสำคัญมากขึ้น ครูผู้สอนมีพอเพียง มีเทคนิคการสอน มีการอบรมเทคนิคการสอนแบบสมัยใหม่ มีการเสริมขวัญและกำลังใจให้กับครูผู้สอน การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา ด้านงบประมาณ มีการจัดตั้งกองทุนสหบาลีศึกษาประจำจังหวัด เจ้าคณะพระสังฆาธิการระดมทุนจากคณะสงฆ์สนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีการตั้งคณะกรรมการหรือโครงสร้างด้านงบประมาณอย่างชัดเจน มีการจัดการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนสำนักเรียนบาลีอย่างเป็นระบบ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเป็นระบบตามแบบมาตรฐาน มีบัญชีรายรับ-รายจ่ายรายเดือน และสรุปเป็นรายงานประจำปี ด้านอุปกรณ์เครื่องมือ สำนักเรียนบาลีได้มีการกำหนดการวางแผนเกี่ยวกับสื่อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ภายในสำนักเรียนเป็นประจำทุกปี โดยดูจากความต้องการของครูผู้สอนและของนักเรียนเป็นหลักให้มีความเพียงพอต่อความต้องการ ดำเนินการลงทะเบียนหรือลงบัญชีเพื่อควบคุมดูแลพัสดุแล้วทำการแยกเป็นชนิด มีการเก็บรักษาอย่างเป็นระเบียบปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารจัดการสำนักเรียนบาลีดูแลในการบังคับบัญชาบุคลากรครูผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวเนื่องในสถานศึกษาบาลีนั้น แบ่งการบริหารเป็น 4 ด้าน คือ การงานบริหารทางด้านวิชาการ การบริหารงานทางด้านงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป
Article Details
References
ขัตติยา ด้วงสําราญ. (2564). บริหารความเสี่ยงอย่างไรให้องค์กรไร้วิกฤต.วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 340-351.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). ประวัติพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2545). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อส่งเสริมกรุงเทพ.
ทรงวิทย์ ชูวงศ์. (2550). กระบวนการบริหารจัดการของสถานศึกษาในการส่งเสริมพฤติกรรมด้านความปลอดภัยแก่นักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งเจดีย์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์. (บุญเลิศ เตชปุญฺโญ). (2564). หลักสาราณียธรรม 6 กับการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(1),79-86.
พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ สุชาโต). (2549). ประวัติความเป็นมาของสำนักเรียนวัดปากน้ำ พุทธศักราช 2549. กรุงเทพฯ: หจก สตาร์กรุ๊ป.
พระมหาฉลาด ปริญฺญฺาโณ. (2530). คู่มือการเรียนบาลีไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
พระมหาทองดี ปญฺญฺาวชิโร. (2554). การศึกษาพระบาลี. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
พระมหาประจักษ์ พนาลัย และ นิรุทธ์ วัฒโนภาส. (2564). การเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1),374-387.
ภาวิดา ธาราศรีวิสุทธิ และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สนามหลวงแผนกบาลี. (2562). เรื่องสอบบาลีของบาลีสนามหลวง. กรุงเทพฯ: อาทรการพิมพ์.
สมเดช สาวันดี. (2553). การนำเสนอรูปแบบการบริหารการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.