สภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายแก้งโนนกาเร็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

อรปรียา ทาดาวงษา
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์
สิริมา บูรณ์กุศล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายแก้ง โนนกาเร็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายแก้ง โนนกาเร็น จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายแก้ง โนนกาเร็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ คือ 1) ด้านการกำหนดอัตราและสรรหาบุคคล 2)ด้านการให้บุคคลพ้นจากงาน 3)ด้านการบำรุงรักษาบุคคล และ 4) ด้านการบรรจุแต่งตั้งบุคคล โดยมีรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านคือ 1)มีการวิเคราะห์ความต้องการบุคคลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 2)การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเพื่อนร่วมงาน 3)จัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ4) การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตรงตามวิชาเอกที่ต้องการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการวางแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนระดับจังหวัด ชุดฝึกอบรม เล่ม 1-6. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.

ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2564). บริหารความเสี่ยงอย่างไรให้องค์กรไร้วิกฤต. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 340-351.

เนตรนภา นามสพุง และไพโรจน์ พรหมมีเนตร. (2558). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(1), 18-24.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พนัส หันนาคินทร์. (2542). ประสบการณ์ในการบริหารบุคคล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรศิริ ชานกัน. (2563). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพ การศึกษาหนองบุญมาก 2 อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 295-308.

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร. (2563). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 591-600.

วยุพิณ ศาลางาม และ สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2560). แนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล ของโรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(3), 284 – 298.

วิจิตร วรุฒบางกูร และสุพิชญา ธีระกูร. (2553). การบริหารโรงเรียนและนิเทศการศึกษาเบื้องต้น.สมุทรปราการ: โรงพิมพ์ขนิษฐา.

เสนะ ติเยาว์. (2545). การบริหารบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุริยา ไสยลาม. (2547). การศึกษาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2540). หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.

Kahintapongs, S. (2020). Renewable Energy Policy Development in Thailand. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 4(2), 148-155.