สภาพการนิเทศและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาอำเภอศรีรัตนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาอำเภอศรีรัตนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 4 ของครูผู้สอน จำนวน 182 คน โดยศึกษา 5 ด้าน คือ ด้านสภาพปัจจุบันในการนิเทศภายใน ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายใน ด้านการสร้างสัมพันธภาพระหว่างการนิเทศภายใน และด้านการประเมินผลการนิเทศภายใน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถามเชิงสำรวจรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จทางคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัย พบว่า สภาพและแนวทางพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาอำเภอศรีรัตนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการสร้างความสัมพันธภาพระหว่างการนิเทศภายใน ด้านการประเมินผลการนิเทศภายใน ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายใน ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน และด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันในการนิเทศภายใน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553).กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทยโดยเวทีเศรษฐกิจโลก พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: พริกหวาน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสน์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
รักพงษ์ บุญศิริ. (2559). รูปแบบการนิเทศภายในด้านวิชาการเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก(ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
รุ่งรัชชดา เวหะชาติ.(2550). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วชิรา เครือคำอ้าย และ ชวลิต ขอดศิริ. (2562).การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรม การการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่.วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 121-135.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนนท์. (2551).การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(พิเศษ), 73-88.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภณ์. (2555). ความเป็นครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Madison, L. A. “The Effect of Supervisor Level of Authority and Leadership Style on Element School climate and Teachers Job Satisfaction(Ph.D. Dissertation). State university of New Jersey.
Moore, W. G. (2000). The Supervision and Evaluation of High school Principals as Described by Central Office Administrators (Ph.D. Dissertation). University of Oklahoma.
Wiles, J & Bondi, J. (2004). Supervision: A Guide to Practice. (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.