ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

Main Article Content

วรเชษฐ์ แถวนาชุม
สุรางคนา มัณยานนท์
นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ประกอบด้วย 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธรอำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน  341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง  เท่ากับ 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมได้ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง .24 – .75มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


          ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร  เขต 1  โดยรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านส่วนใหญ่พบว่าอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้นำที่มีความคิดความเข้าใจระดับสูง อยู่ในระดับมากที่สุด    ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่างๆ  มากำหนดกลยุทธ์ อยู่ในระดับมาก  ด้านการมีความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต อยู่ในระดับมาก ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ อยู่ในระดับมาก และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์พริ้นท์

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาร์น.

พจนันทน์ จารุเลิศพิศุทธิ์ และ สงวน อินทร์รักษ์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 258-269.

ศราวุธ ทองอากาศ, สุรีย์มาศ สุขกสิ และ อัมพวัน ประเสริฐภักดิ์. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 112-117.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). จะปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลจริงได้อย่างไร: รายงานเรื่องสภาวะการศึกษาไทย ปี 2552-2553. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุรศักดิ์ ปักการะโถ, สุรีย์มาศ สุขกสิ และ อัมพวัน ประเสริฐภักดิ์. (2561). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 118-124.

Ireland, H, & Hoskisson, R. E. (2007). Strategic Management. New York: Thomson.

Johnson, G., and K. Scholes. (2003).Strategic Management in Practice from Exploring Corporate Strategy. London: Prentice-Hall.

Krejcie, R.V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activity. Journal for Education and Psychological Management, 30(3), 608-609.

Robbin, S.P. & Coulter, M. (2003). Management (6th ed). New Jersey: Prentice Hall.