การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง My Self and Family โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกลุ่มการเรียนร่วมมือแบบทีม (TAI) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พิมพ์พิไล วะนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนจัดการการเรียนรู้ เรื่อง My Self and Family
วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนร่วมมือแบบทีม (TAI) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 32 คน โดยการสุ่มอย่าง เครื่องมือที่ใชในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรูแบบทีม (TAI)  จำนวน 8 แผน ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 2) แบบฝึกทักษะ จำนวน 8 แผน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. แผนจัดการการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.25/81.65 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

  2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าดัชนีประสิทธิผล (EI.) = 71

  3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนร่วมมือแบบทีม (TAI) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญยาภรณ์ กิ่งไทร, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ และ สุวิมล ติรกานันท์. (2564). การศึกษาทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2),678-693.

ณฐมน ชมจันทร์ และ จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่นที่เน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 536-549.

ทองอินทร์ ภูมิประสาท. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง รูปและรูปทรงเรขาคณิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมแบบกลุ่ม TAI และการจัดกิจกรรมตามแนว สสวท(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทัศนีย์ ประสงค์สุข. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหากันตินันท์ เฮงสกุล. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 1-10.

ลำดวน ชาวไธสง. (2549). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง คำกริยา คำคุณศัพท์ คำบุพบทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีการเรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนและการเรียนร่วมมือแบบ STAD (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภกิจ เฉลิมวิสุตม์กุล. (2553). หนังสือเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.4 ภาคเรียนที่ 2. กรุงเทพฯ: แม็ค.

Bayraktar, S. (2001). A Meta-Analysis on the Effectiveness of Computer-Assisted Instruction in Science Education. Dissertation Abstracts International, 61(7), 2570-A.

Bingham, M. J. (2002). Effects of Computer-Assisted Instruction Versus Traditional Instruction on Adult GED Student TABE Score. Dissertation Abstracts International, 63(4), 1222-A.

Butts, D. (1972). The Teaching of Science A Self Directed Planting Guide. New York: Packer Publishing Company.

Criswell, E. L. (1989). The Design of Computer-Based Instruction. New York: Macmillan Publishing Company.

Damnoen, P. S., Phumphongkhochasorn, P., Punwasuponchat, N., & Srichan, P. W. (2021). The Development of Learning Management Design Models in Compulsory Subjects of the Master of Education Program in Educational Administration Innovation in Order to Enhance the Characteristics of Learners According to the Needs of the Professional Education Institution Administrators. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20459 – 20466.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75-86.