การศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งศรีอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีธานี เขต 5

Main Article Content

ประคอง บาทสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งศรีอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และ 2) เปรียบเทียบความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งศรีอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลธานี เขต 5 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 105 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบ ความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ ด้านการมีแบบแผนความคิด และด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีผลดังนี้ โรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดกลางมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดใหญ่มากกว่าโรงเรียนขนาดกลาง ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีผลดังนี้ โรงเรียนขนาดเล็กมากกว่าโรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่มากกว่าโรงเรียนขนาดกลาง ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดเล็กแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และด้านการคิดอย่างเป็นระบบ มีผลดังนี้ โรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดกลางมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดกลางแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
บาทสุวรรณ ป. (2021). การศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาทุ่งศรีอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 632–647. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/249091
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา ชาญรบ. (2556). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ธานี มาลาศรี. (2554). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุษยมาศ สิทธิพันธ์. (2559). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรธิดา เมฆวทัต. (2559). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพศาล โกพัฒน์ตา และคณะ. (2560). การพัฒนารูแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(2), 100-110.

สิริกาญจน์ จิระสาคร. (2553). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Damnoen, P. S. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126-135.

Damnoen, P.S., Phumphongkhochasorn, P., Punwasuponchat, N., & Srichan, P. W. (2021). The Development of Learning Management Design Models in Compulsory Subjects of the Master of Education Program in Educational Administration Innovation in Order to Enhance the Characteristics of Learners According to the Needs of the Professional Education Institution Administrators. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20459 – 20466.

Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P. S., & Huanjit, P. S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491 – 20499.