การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

Main Article Content

ธนชัย อุ่นอ้วน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำแนกตามขนาดโรงเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 330 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูป Krejcie and Morgan และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมทุกด้าน พบว่าไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
อุ่นอ้วน ธ. (2021). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 507–518. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/248873
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี พริ้น (1991).

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ประภาวรรณ ตระกูลเกษมสุข, อนุสรา สุวรรณวงศ์ และ ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา กับการรับรู้ช่องทางการสื่อสารการตลาดของโรงเรียน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 129-143.

ปิยะพร วงศ์อนุตโรจน์. (2548). การบริหารงานวิชาการ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

เผ่า วามาลุน. (2558). ศึกษาสุขภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศุภลักษณ์ ลีฬหคุณากร, ชูศักดิ์ เอกเพชร และ สมคิด นาคขวัญ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(1), 1163 - 184.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.