ภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยในเครือข่ายพรเพชรกรุ๊ป สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

อุเทน วรชินา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยในเครือพรเพชรกรุ๊ป สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดตามแบบภาวะผู้นำของบาสและอโวลิโอ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือวิทยาในเครือข่ายพรเพชรกรุ๊ป จำนวน 6 วิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ) คือ ครูจำนวน 92 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยในเครือพรเพชรกรุ๊ป สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ (1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (3) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (4) ด้านการบริหารแบบเชิงรุก (5) ด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์ (6) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และ (7) ด้านการบริหารแบบวางเฉยเชิงรับ ตามลำดับ
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยในเครือข่ายพรเพชรกรุ๊ป นำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามาแบบภาวะผู้นำให้สามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรักษ์ สุวรรณ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสตรีกบประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.ชลบุรี(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาญชัย อาจินสมาจารย์. (2554). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

ชูศรี ถนอมกิจ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2559). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2554). วัฒนธรรมการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ภิญโญ สาธร. (2552). หลักบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าคุรุสภา.

มณทิพย์ ทรงกิติพิศาล. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รุ่ง แก้วแดง. (2556). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). ภาวะผู้นำและทฤษฎีร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

สำนักการศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอำนาจเจริญ. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. อำนาจเจริญ: กลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานฯ.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Transformational Leadership Development. Pola Alto, California: Consulting Psychologists.

Burns, J. M. (1987). Leadership. New York: Harper and Row.

Good, C.V. (1978). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill.

Yukl, G. (2006). Leadership in Organizations. (6th ed.). New Jersey: Pearson Education.