การศึกษาผลการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของนักเรียนสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคนิคเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยวก่อนและหลังเรียน 2) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยวของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยว 3) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ห้อง 1,2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยว 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 2. นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยว ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ คิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ ระดับมาก 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยว ระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 218-253.
นิคม ชัยขุนพล. (2560). ลักษณะปฏิสัมพันธ์การสื่อสารจากพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ของคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 55-65.
กรรณิการ์ ทองใบ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2564). บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 312-328.
พอรุ้ง แสงนวล. (2563). การบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 672-685.
วิทยาลัยเทคนิคเขมราฐ. (2563). รายงานผลการประเมินตนเอง พุทธศักราช 2563. อุบลราชธานี: วิทยาลัยเทคนิคเขมราฐ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). คู่มือการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง พุทธศักราช 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อมรรักษ์ สวนชูผล. (2558). แนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองกับการจัดการศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(1), 213-221.