สภาพและปัญหาการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กรของผู้บริหารศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ภัททิรา ประทุมมา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนและบุคลากรสนับสนุน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กรศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพิจารณาความดีความชอบ ด้านการใช้กระบวนการทางสถิติ ด้านการศึกษาและการอบรม ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านภาวะผู้นำ ด้านโครงสร้างองค์กรที่เกื้อหนุน และด้านการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ


2. ปัญหาการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กรศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง


3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์กร ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. ค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563, จาก http://www.nfe.go.th/onie2019/index.php/about-us/strategic-operations-focus.html.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2554). การศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีสยาม, 2554

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2545). TQA กลยุทธ์การสร้างองค์การคุณภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เนท.

ธงธิภา วันแก้ว และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำในทศวรรษหน้าของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 399-408.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป: ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.

บุศรา นิยมเวช. (2563). บทบาทของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตกรุงเทพมหานครต่อการสร้างการมีส่วนร่วมและเครือข่ายการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 633 - 645

ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 330-344.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์: แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันพระปกเกล้า. (2561). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

อดุล โตเขียว และ นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2563). รูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. วารสารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 515 – 526.

Damnoen, P.S.P. & Phumphongkhochasorn, P. (2020). National Educational Standards and Educational Administration to Comply with International Standards. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 4(1), 31-39.

Office of Non-Formal and Informal Education. (2008). Documentation, Principles, And Concepts For Formal Education Operations: Non-Formal Education. Bangkok: Educational Supervisor Unit Office of Non-Formal and Informal Education.