กระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้ระบบทะเบียนออนไลน์ ในระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา จึงได้มีการกำหนดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของการศึกษามีการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไปจนถึงการให้ความสำคัญเพื่อให้คนไทยสามารถใช้เทคโนโลยีในการศึกษาที่มีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ระบบทะเบียนนักศึกษาก็คือส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในสถานศึกษา ซึ่งผู้ใช้งานก็จะมีทั้งอาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ โดยระบบทะเบียนออนไลน์สามารถที่จะช่วยลดเวลาในการทำงาน ช่วยประหยัดต้นทุนและทรัพยากรของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี เพื่อให้การใช้งานของผู้ใช้ เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเห็นว่าควรมีการจัดทำกระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้ระบบทะเบียนออนไลน์ขึ้นมา โดยใช้หลักการสร้างความรู้ความเข้าใจ ทำให้ได้มาซึ่งกระบวนการ ดังนี้ 1) การสำรวจความต้องการพื้นฐาน ปัญหา และข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งาน, 2) การจัดการอบรมและสร้างความเข้าใจร่วมกัน 3) การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 4) การนำไปใช้จริงอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
Article Details
References
ศิริวัฒน์ ภาภิรมย์. (2559). การพัฒนาระบบลงทะเบียนเรียนออนไลน์. มหาสารคาม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏมหาสารคาม.
ไทย กิตติภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล. (2546). คัมภีร์การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ.กรุงเทพฯ: เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ดรุณี ญาณวัฒนา. (2535). การประเมินการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในระบบงานทะเบียนนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตครุศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภัคดิ์ สุวรรณย้า. (2544). ลงทะเบียนเรียนและสอบถามผลการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกริก (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหิดล.
อัครวุฒิ ปรมะปุญญา. (2546). การพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับงานทะเบียนนักศึกษา กรณีศึกษา: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2546). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.