การฟื้นฟูระบบนิเวศและแหล่งน้ำเทือกเขาพนมดงรักตามแนวพุทธศาสนาในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

บุญยืน งามเปรี่ยม

บทคัดย่อ

การฟื้นฟูระบบนิเวศและแหล่งน้ำเทือกเขาพนมดงรักตามแนวพุทธของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นฟูระบบนิเวศและแหล่งน้ำตามแนวพุทธ คณะผู้วิจัยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนามรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องตามประเด็นที่กำหนดเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Research) ข้อมูลเชิงกายภาพรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า การฟื้นฟูระบบนิเวศและแหล่งน้ำตามแนวพุทธนั้น มีแนวคำสอนเชิงสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศของพุทธศาสนาอยู่ 3 แนวทาง ได้แก่ การฟื้นฟูระบบนิเวศตามหลักศีล 5 แนวทางการพื้นฟูระบบนิเวศตามหลักไตรสิกขา สอดแทรกเรื่องธรรมชาติ และใช้หลักมรรคมีองค์ 8 ใช้ทางสายกลาง แนวทางที่สามคือหลักของมรรคมีองค์แปดหรือเรียกอีกอย่างว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” ทางสายกลาง หมายถึง หลักแนวคิดเกี่ยวกับให้รู้จักอยู่กับธรรมชาติด้วยความสมดุล ความเหมาะสม ความเสมอ ความพอดี จะเห็นว่า ทั้งสามแนวทางดังกล่าวเป็นหนทางตามแนวคิดของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาเน้นแนวทางเพื่อนำมาปฏิบัติจึงจะเห็นผลสัมฤทธิ์ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการเห็นผลการพื้นฟูแหล่งน้ำชาวบ้านชุมชนต้องนำแนวคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจึงเห็นผล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กันยารัตน รินศรี. (2556). การจัดการทรัพยากรน้ำเชิงบูรณาการแนวพุทธ : กรณีศึกษากลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำปง จ. เชียงใหม่(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2547). วัฒนธรรมและศาสนา, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิติกรณ วงคชัย. (2553). การจัดการน้ำของระบบเหมืองฝายท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระครูใบฎีกาถาวร สุรปฺโ (เสนสอน). (2554). การศึกษาบทบาทพระสงฆกับการอนุรักษทรัพยากรป่าไม : ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของพระนิภากรโสภณ (ไกร ฐานิสฺสโร) วัดหนองกลับ อําเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูพิพิธจารุธรรม. (2558). แนวทางการอนุรักษ์ป่าตามหลักคำสอนพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีมูลนิธิฮักเมืองน่าน จังหวัดน่าน . วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานรินทร์ ทวีสิทธิ์. (2547). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดของกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้หลักโยนิโสมนสิการ(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาเชียงใหม่.
พระมหาพระยนต์ สนฺตจิตฺโต (พันธ์วัตร). (2550). บทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ :กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พระอธิการสุวิทย์ จกฺกธมฺโม (ปล้องไม้). (2556). การศึกษาหลักพุทธธรรมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม.(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุเทพ สุนทรเภสัช.(2547). ผู้แปลและเรียบเรียง. วัฒนธรรมกับสิ่งแวดล้อม.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.