ความต้องการด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการส่งเสริมสื่อสนับสนุน การเรียนของนักศึกษาถนัดซ้าย: กรณีศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

ารวิจัยเรื่อง การศึกษาความต้องการด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการส่งเสริมสื่อสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาถนัดซ้าย : กรณีศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการส่งเสริมสื่อสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาถนัดซ้าย และ 2) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาความต้องการด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการส่งเสริมสื่อสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาถนัดซ้าย ซึ่งมีประชากร ได้แก่ นักศึกษาที่ถนัดซ้ายทุกชั้นปีของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จำนวน 45 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่ถนัดซ้ายทุกชั้นปีของสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ที่ระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า


1. ความต้องการด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการส่งเสริมสื่อสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาถนัดซ้าย ได้แก่ ด้านการจัดโต๊ะเรียน และเก้าอี้ ด้านการจัดโต๊ะผู้สอน ด้านการจัดป้ายประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ด้านการจัดสภาพห้องเรียนต้องให้ถูกสุขลักษณะ ด้านการจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน ด้านบุคลิกภาพของผู้สอน ด้านพฤติกรรมการสอนของผู้สอน ด้านการดูแล และติดตามการเรียนของผู้สอน และด้านปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน ผลการศึกษาพบว่า โดยรวมทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ผลการศึกษาพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดโต๊ะผู้สอนอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการจัดสภาพห้องเรียนต้องให้ถูกสุขลักษณะ อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการดูแล และติดตามการเรียนของอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง


2. ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาความต้องการด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการส่งเสริมสื่อสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาถนัดซ้าย ด้านปัญหา ผลการศึกษาพบว่า โต๊ะ และเก้าอี้ในบางห้องเรียนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา อุปกรณ์ต่าง ๆ วางบนโต๊ะจำนวนมาก แต่ใช้การไม่ได้บางชิ้น ห้องเรียนค่อนข้างแคบ ทำให้ของที่มาวางจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียนดูรก และไม่สบายตา จำนวนป้ายประชาสัมพันธ์ข่าวสารมีน้อย และสาระคุณภาพมีน้อย เวลาเรียนมีเสียงดังจากการก่อสร้างรบกวนการเรียน อาจารย์บางท่านเข้าสอนไม่ตรงเวลา ขาดการอบรมคุณธรรม และจริยธรรมให้กับนักศึกษา ทำให้มีการแบ่งกลุ่ม ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างเรียนในห้องเรียน จึงทำให้ไม่มีการปฏิสัมพันธ์การพูดคุยกันมากนัก และแนวทางแก้ปัญหา ผลการศึกษาพบว่า จัดหาโต๊ะ และเก้าอี้มาเพิ่มเติมให้กับนักศึกษา จัดโต๊ะผู้สอนให้เป็นระเบียบ มีการจัดมุมห้องต่าง ๆ โดยเป็นสัดส่วน ดูแลในเรื่องความสะอาดห้องเรียน ป้ายนิเทศควรมีข่าวสาร และเนื้อหาสาระที่ทันสมัย ผู้สอนควรเพิ่มความเข้มข้นในการดูนักศึกษาในชั้นเรียนมากขึ้น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาได้ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความรู้เพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
แขน้ำแก้ว เ. . (2020). ความต้องการด้านการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการส่งเสริมสื่อสนับสนุน การเรียนของนักศึกษาถนัดซ้าย: กรณีศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 3(2), 79–98. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247302
บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน. (2554). เอกสารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554). นครศรีธรรมราช :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (เอกสารอัดสำเนา)
ทรรศนีย์ วราห์คำ. (2554). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรูของโรงเรียนวัดจันทร์
ประดิษฐาราม สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
พัชรินทร์ เพชรทอง. (2558). การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน. เข้าถึงได้จาก https://www.l3nr.
org/posts/509905. (สืบค้นวันที่ 29 พฤศจิกายน 2558).
แพง ชินพงศ์. (2558). เรื่องของคนถนัดซ้าย. เข้าถึงได้จาก http://www.manager.co.th/Family/ ViewNews.aspx?NewsID=9550000038583. (สืบค้นวันที่ 7 ธันวาคม 2558).
ภควรรณ โทมา. (2558). บรรยากาศในชั้นเรียนและการส่งเสริมสื่อสนับสนุนการเรียน. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org. (สืบค้นวันที่ 4 ธันวาคม 2558).
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมร ชมพูวงษ์. (2558). บรรยากาศในชั้นเรียน.เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.Org/posts /399045locale=en. (สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2558).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2531). แนวทางการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.