กลยุทธ์การจัดการการพัฒนาการศึกษานอกระบบเพื่อความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

Main Article Content

สุชาติ ถาวระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องจัดการพัฒนาการศึกษานอกระบบเพื่อความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบเพื่อความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบเพื่อความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาผู้ใหญ่นอกระบบที่ใช้บริการของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนราธิวาส ปีการศึกษา  2559 จำนวนทั้งสิ้น 373 คน โดยใช้เกณฑ์ตามตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ เครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.877 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ แบบสัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ Focus group ปรากฏผลดังนี้


1) จากการศึกษาสภาพปัญหาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพัฒนาการศึกษานอกระบบเพื่อความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก


2) การสร้างกลยุทธ์การจัดการพัฒนาการศึกษานอกระบบเพื่อความมั่นคงของจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่า กลยุทธ์การมีส่วนร่วมและความสามัคคีสำคัญที่สุด


3) การประเมินกลยุทธ์การจัดการพัฒนาการศึกษานอกระบบเพื่อความมั่นคงชายแดนภาคใต้โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การศึกษาด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม อยู่ในระดับสูงและเหมาะสมดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คมกฤช จันทร์ขจร. (2551). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2559). มหกรรมวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สภาวิจัยแห่งชาติ.
พัชรินทร์ ศิริสุข. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาภูมิภาคท้องถิ่น สังคม วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิช ทองโรจน์. (2549). การศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป. กรุงเทพฯ: เกรทเอ็ดดูเคชั่น.
มัณฑริกา วิฑูรชาติ. (2551). การพัฒนากลยุทธ์ของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-2 ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
รัชนีวรรณ บุญอนันท์. (2555). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). การพัฒนาและการแก้ปัญหาชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศตวรรษที่สอง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สุนทร โครตบรรเทา. (2560). ความคาดหวังของนักศึกษาผู้ใหญ่วิทยาลัยนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่นมาลากุล.
Krejcie R.V. and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities Education and Psycho logical Measurement, 30, 597-710
Schermerhorn, J.R. (1999). Management. (5th ed.). New York: John Wilry & Son.