การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตามเส้นทางการเรียนรู้ของหลวงพ่อเดิม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต

Main Article Content

พัชราภา สิงห์ธนสาร
กฤษฏิ์ติณณ์ พันธุ์ไพโรจน์

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรวบรวมประวัติและความเป็นมาของทรัพยากรการท่องเที่ยว   ตามเส้นทางการเรียนรู้ของหลวงพ่อเดิม (2) เพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ตามเส้นทางการเรียนรู้ของหลวงพ่อเดิม (3) เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม ภูมิปัญญา และคุณลักษณะแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับทุนมนุษย์ในชุมชน ตามเส้นทางการเรียนรู้ของหลวงพ่อเดิม และ (4) เพื่อจัดทำหนังสือการท่องเที่ยวตามเส้นทางการเรียนรู้ของหลวงพ่อเดิมและถ่ายทอดองค์ความรู้    สู่ชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้รู้ข้อมูลชุมชน 3 ตำบล คือ ตำบลเขาทอง ตำบลสระทะเล และตำบลม่วงหัก จำนวน 9 คน การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะด้านมัคคุเทศก์ให้กับเยาวชน จำนวน 96 คน ฝึกหัดครูให้เป็นผู้ช่วยวิทยากร จำนวน 27 คน  และประชุมกลุ่มเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้นำชุมชนและชาวบ้าน จำนวน 92 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติ paired t-test และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ได้แหล่งเรียนรู้เชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น 3แห่ง (2)ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยวตามเส้นทางการเรียนรู้ของหลวงพ่อเดิม 3 เล่ม (3) ได้มัคคุเทศก์น้อยที่มีความรู้ความสามารถจำนวน 96 คน   โดยมีคะแนนการทดสอบความรู้หลังอบรมสูงกว่าคะแนนการทดสอบความรู้ก่อนอบรม อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อีกทั้งยังมีผลการประเมินมัคคุเทศก์น้อยด้านการให้บริการนักท่องเที่ยวโดยผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวมอยู่ในระดับดี และ(4) มีครูที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนรุ่นต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. www.creativeculturethailand.com

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2548). นโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. http://conservation.forest.ku.ac.th

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. ห้างหุ้นส่วนจำ กัดอรุณการพิมพ์.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560- 2564). สำ นักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สำ นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จิระวรรณ เจียสกุล. (2557). “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการพัฒนาประเทศ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หน่วยที่ 13 หน้า1-61. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ตันติกร โคตรชารี. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย ในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาพระธาตุประจำวันเกิด จังหวัดนครพนม. [หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย].มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนกฤต สังข์เฉย. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 1). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

ธนัทณัฏฐ์ ฉัตรภัครัตน์, ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ และวิทูรย์ วงษ์อามาตย์. (2561). การพัฒนารูปแบบแหล่งการเรียนรู้ชุมชนอัจฉริยะในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นัดดา อังสุโวทัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การตลาดเพื่อการท่องเที่ยว. ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ประภัสสร ผ่องใส. (2556). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมจากการท่องเที่ยวในวัดพระมหาเจดีย์ชัยมงคลต่อชุมชนท้องถิ่น ตำบลผาน้ำย้อย อำ เภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด [การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

ปาริฉัตร อิ้งจะนิล. (2554). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบตลาดเก่า กรณีศึกษาตลาดคลองสวน 100 ปีจังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

พัชราภา สิงห์ธนสาร. (2563). รายงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย แนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาและวัฒนธรรม อำ เภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตามเส้นทางการเรียนรู้ของหลวงพ่อเดิม. สำ นักงานการวิจัยแห่งชาติ.

เมทิณี แสงกระจ่าง. (2551). ประสิทธิผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวปีท่องเที่ยวไทย 2551-2552ในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวต่างประเทศ. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ราณี อิสิชัยกุล. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเอกสารการสอนชุดฝึกอบรมทางไกลหลักสูตรการจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำ นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). รายงานการวิจัยการจัดการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: พิพิธภัณฑ์. ภาพพิมพ์.

วัชราภรณ์ ระยับศรี. (2551). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของนักท่องเที่ยวชาวไทยและ ชาวต่างชาติที่มาเที่ยววัดในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2540). โครงการดำ เนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กองวิชาการที่ปรึกษา ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.)

สามพร มณีไมตรีจิต. (2539). บทบาทวัฒนธรรมไทยกับการท่องเที่ยว. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการโครงการสืบสานวัฒนธรรมไทยนิยมไทย ครั้งที่ 3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

สุมาลี สังข์ศรี. (2555). การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำ หรับประเทศไทย. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรามหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2557). บทวิเคราะห์การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใน การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สำ นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Goeldner, C., & Ritchie, J. R. B. (2006). Tourism: principles, practices, philosophies (10th ed.).Wiley.

Henschke, J. A. (2008). Movement toward staying ahead of the curve in developing and managing human capital. In V. C. X. Wang & K. P. King Z. (eds.), Human performance models in the global context (pp.1-27). Charlotte, Information Age Publishing.

Knowles, M. S. (1990). The adult learner: A neglected species (4th edition). Gulf.

Knowles, M. S. (1970). The modern practice of adult education: Andragogy versus pedagogy.Association Press.

Smaldino, S.E., Russell, J.D., Heinich, R. & Molendo, M. (2005). Instructional technology and media for learning (8 eds.). Courier Kendallvill, Inc.