จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีนโยบายในการส่งเสริม

เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ   โดยครอบคลุมวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  การศึกษา  ศิลปกรรม ดนตรี สถาปัตยกรรม ภาษา วรรณกรรม  กำหนดการตีพิมพ์ปีละ 6 ฉบับ ออกราย 2 เดือน คือ เล่ม 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ / เล่ม 2 มีนาคม – เมษายน/เล่ม 3 พฤษภาคม – มิถุนายน/เล่ม 4 กรกฎาคม – สิงหาคม /เล่ม 5 กันยายน – ตุลาคม และ เล่ม6  พฤศจิกายน – ธันวาคม  โดยรูปแบบผลงานที่วารสารจะรับพิจารณา มี 3 ประเภท คือ บทความทั่วไป บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ  บทความวิชาการและบทความวิจัยที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคามนี้จะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ ( Peer review) ซึ่งปกติจะมี Double Blind (ผู้พิจารณา 2 คน) หรือ Triple Blind (ผู้พิจารณา 3 คน)  ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล  และนำไปอ้างอิงได้  ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องมีสาระ  งานทบทวนความรู้เดิมและเสนอความรู้ใหม่ที่ทันสมัยรวมทั้งข้อคิดเห็นที่เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน ผลงานไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กำหนดบทบาทหน้าที่สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ที่อยู่ในวงจรการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ได้แก่ ผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการวารสาร (Editor) ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่ม ได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจนผู้อ่าน และแวดวงวิชาการ

จริยธรรมของผู้นิพนธ์

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาการขอรับการตีพิมพ์ของวารสารอื่นๆ
  2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือรายงานข้อมูลที่เป็นเท็จ
  3. ผู้นิพนธ์ต้องมีการอ้างอิงผลงานที่นำมาใช้ในงานของตนเอง
  4. ผู้นิพนธ์ต้องใส่ชื่อผู้ร่วมวิจัยทั้งหมด ในกรณีที่งานวิจัยมีผู้ร่วมทำงานหลายคน ไม่แอบอ้างเป็นงานวิจัยของตนเอง
  5. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนในการทำวิจัยชิ้นนั้น รวมถึงระบุผลประโยชน์ทับซ้อน

จริยธรรมของบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ ที่จะลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์มาแล้ว
  2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์ และผู้เขียนบทความ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
  3. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์ หรือตอบรับบทความโดยที่ไม่มีข้อมูลยืนยัน
  4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมิน
  5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบผลงานในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) หากตรวจพบต้องหยุดการประเมินทันที

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง
  2. หลังจากการได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร หากไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดๆก็ตาม ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
  3. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการมารองรับ
  4. หากผู้ประเมินค้นพบการคัดลอกบทความหรือผลงานอื่นที่ไม่มีการอ้างอิง การแอบอ้างเป็นผลงานตนเอง ให้หยุดทำการประเมิน และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ

จริยธรรมการวิจัยในคนและสัตว์ของบทความวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

           หากผลงานทางวิชาการของผู้นิพนธ์เกี่ยวข้องกับการใช้คน สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยมีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้นิพนธ์ควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด