ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

การเตรียมต้นฉบับ

ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์การเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ให้หลีกเลี่ยงการเขียน ภาษาอังกฤษรวมกับภาษาไทยในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีทางแปล หรือคำที่ใช้แล้วทำให้เข้าใจ ง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนเป็นภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ

 

สำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษ ควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องของภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน ขนาดของต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 (8.5x11 นิ้ว) และพิมพ์โดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว จัดเป็น 2 คอลัมน์ ชนิดของขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Browallia New

3.1 ชื่อเรื่องให้ใช้อักษรขนาด 18 pt. ตัวหนา

3.2 ชื่อผู้นิพนธ์ใช้อักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ

3.3 หัวข้อหลักใช้อักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา

3.4 หัวข้อรองใช้อักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา

3.5 บทคัดย่อและเนื้อหาใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวบาง

3.6 เชิงอรรถอยู่หน้าแรกที่เป็นรายละเอียดชื่อตำแหน่งทางวิชาการ และที่อยู่ของผู้นิพนธ์ใช้อักษรขนาด 12 pt. ตัวบาง และใส่ Corresponding author การพิมพ์ต้นฉบับ ผู้เสนองานจะต้องพิมพ์ส่งต้นฉบับในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ".doc" (MS Word) หรือ ".rft" (Rich Text) 

ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 12 หน้า รวมตาราง รูป ภาพ และเอกสารอ้างอิง

รูปแบบการเขียนต้นฉบับ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบทความรายงานผลวิจัยหรือบทความวิจัย (research article) และบทความจากการทบทวนเอกสารวิจัยที่ผู้อื่นทำเอาไว้ หรือบทความทางวิชาการ หรือบทความทั่วไป หรือบทความ ปริทัศน์ (review article)

การเตรียมบทความ ส่ง online ผ่านระบบ ThaiJo โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/information/authors หากจัดรูปแบบไม่ถูกต้องทางวารสารจะจัดส่งคืนผู้นิพนธ์เพื่อปรับแก้ไข ก่อนเสนอผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ซึ่งอาจทำให้กระบวนการตีพิมพ์ล่าช้า 

ข้อตกลงการส่งผลงาน

1.แนบใบนำส่ง ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://hujmsu.msu.ac.th/download.php

2.ไฟล์บทความที่จัดรูปแบบถูกต้อง (ไฟล์.docและ ไฟล์.pdf)

3.ผู้นิพนธ์จะต้องกรอกรายละเอียดข้อมูลของผู้นิพนธ์ในช่อง List of Contributors ให้ครบถ้วนทุกคน (ชื่อ-สกุล/สังกัด/อีเมล์)

*หากไม่สามารถดำเนินการตามข้อตกลงการส่งผลงานทางวารสารจะไม่รับพิจารณาบทความ

 

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

1. คู่มือการส่งบทความออนไลน์ 

https://hujmsu.msu.ac.th/upload/MSU_Submission_Journals_Online.pdf

2.  ใบนำส่งบทความดาวน์โหลดได้ที่ 

https://hujmsu.msu.ac.th/download.php

3. วีดีโอแนะนำการส่งบทความ 

https://hujmsu.msu.ac.th/download.php

 

 

รูปแบบการอ้างอิง

เอกสารอ้างอิงให้เขียนตามรูปแบบ “Publication Manual of the American Psychilogical Association” (7th Edition) *** เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565 ***

1. หนังสือ (ในรูปแบบรูปเล่ม)
ชื่อ -สกุล.(ปีพิมพ์).ชื่อเรื่อง(พิมพ์ครั้งที่). สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง : วิธาน ฐานะวุฑฒ์. (2547). หัวใจใหม่-ชีวิตใหม่. ปิติศึกษา.


2. บทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อ สกุล. (ปี พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้า. /https://doi.org/เลขdoi
ตัวอย่าง : มานะ สินธุวงษานนท์. (2549). ปัจจัยส่งเสริมการจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารครุศาสตร์, 18(2), 115-116.


3. รายงานการประชุมเชิงวิชาการ (Proceeding)
ชื่อ - สกุล. (ปี). ชื่อบทความ. ใน/ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.), ชื่อหัวข้อการประชุม. ชื่อการประชุม (น. เลขหน้า). ฐานข้อมูล.
ตัวอย่าง : พัชราภา ตันติชูเวช. (2553). การศึกษาทั่วไปกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับประเทศไทย. ใน ศิริชัย กาญจนวาสี (บ.ก.), การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. การประชุมวิชาการและเผยแพร่ ผลงานวิจัยระดับชาติ(น. 97-102). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


4. หนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์
ชื่อสกุล. (ปี,/วัน/เดือน). ชื่อคอลัมน์.ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.
ตัวอย่าง : พงษ์พรรณ บุญเลิศ. (2561, 15 สิงหาคม). เดลินิวส์วาไรตี้: ‘สื่อพิพิธภัณฑ์’ เชื่อม ยุคสมัย เข้าถึงด้วย ‘มิติใหม่’ อินเทรนด์. เดลินิวส์, 4.


5. หนังสือ (ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์)
ชื่อ สกุล.(ปีพิมพ์).ชื่อเรื่อง(พิมพ์ครั้งที่).URL
ตัวอย่าง : กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ ต่ำกว่า 3-5 ปี. http://drive.google.com/file/d/1HiTwiRh1Er73h VYIMh1cYWzQiaNl_Vc/view




Reference are written in “Publication Manual of the American Psychilogical Association” (7th Edition)

1. Book
Mertens, D. M. (2014). Research and evaluation in education and psychology: Integrating diversity with quantitative, qualitative, and mixed methods (4th ed.). SAGE.


2. Academic Journal
Herbst-Damm, K. L., & Kulik, J. A. (2005). Volunteer support, marital status, and the survival times of terminally ill patients. Health Psychology, 24, 225-229. https://doi.org/10.1037/0278-6133.24.2.225


3. Conference Proceeding
Katz, I., Gabayan, K., & Aghajan, H. (2007). A multi-touch surface using multiple cameras. In J. Blanc-Talon, W. Philips, D. Popescu, & P. Scheunders (Eds.), Lecture notes in computer science: Vol. 4678. Advanced concepts for intelligent vision systems (pp. 97-108). Springer-Verlag. https://doi.org/10.1007/978-3-540-74607-2_9


4. Newspaper / Online Newspaper
Brody, J. E. (2007, December 11). Mental reserves keep brain agile. The New York Timeshttp://www.nytimes.com


5. E-book
Dahlberg, G., & Moss, P. (2005). Ethics and politics in early childhood educationhttps://epdf.tips/ethics-and-politics-in-early-childhoodeducation-contesting-early-childhood.html