รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สุธาสินี วิยาภรณ์
ตุลา ไชยาศิรินทร์โรจน์

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์และรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research)เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษา ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์และวิพากษ์ข้อมูลสู่การสังเคราะห์และการศึกษาวิจัยภาคสนาม (Survey research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)วิธีการสัมภาษณ์(Interview) และการสังเกตการณ์ (Observation)          สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดเพชรบูรณ์มีลักษณะพิเศษของการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวเลือกที่จะเดินทางไปประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและพักผ่อนหย่อนใจโดยเฉพาะวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโบราณสถาน และโบราณวัตถุนักท่องเที่ยวจึงชอบเดินทางมาเยือนเพชรบูรณ์จำ นวนมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อสถานที่ท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยว โดย เรียงตามลำ ดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว รองลงมาคือด้านกลยุทธ์การท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านประชาสัมพันธ์และด้านบุคลากร นอกจากนี้นักท่องเที่ยวมีความเห็นว่าสิ่งที่วัดควรปรับปรุง สามารถเรียงตามลำ ดับ จากมากไปหาน้อย
ดังนี้ เรื่องการจัดหาถังขยะให้เพียงพอ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของ สถานที่ท่องเที่ยว และควรมีแผนผังแสดงแหล่งท่องเที่ยวในวัด
ส่วนการศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในวัด สรุปได้3 รูปแบบ ดังนี้คือ 
1. การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดทำ แผนผังการใช้สอยพื้นที่ของวัด การจัดทำแผนพัฒนาวัดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และการจัดทำ แผนพัฒนาฟื้นฟูโบราณสถาน
2. การจัดการระบบสื่อความหมาย ได้แก่ การจัดทำ ข้อมูลและฐานข้อมูลของวัดในระบบสารสนเทศ และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวัดในวันสำคัญหรือเทศกาลสำคัญ
3. การจัดการบุคลากรการท่องเที่ยว ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรของวัดในด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาจริยธรรมการท่องเที่ยวในวัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ. (2562). ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กรรณิกา คำดี.(2015).วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว.วารสารบัณฑิตศึกษา 4(2): 175-190

เครือข่ายศาสนิกชนแห่งประเทศไทย. (2552). ท่องเที่ยว แสวงธรรม สร้างแรงบันดาลใจชาวพุทธ. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2553, จาก http://board.palungjit.com

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะ.(2548) โครงการมูลค่าเพิ่มในประเทศของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

วรสิกา อังกูร และคณะวิจัย.(2547) รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาแหล่งการเรียนรู้ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ท่องเที่ยวแนวใหม่สร้างโอกาสเอสเอ็มอี. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2562, จาก http://www.ksmecare.com

สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์.(2562).คู่มือท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์.

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562, จาก http://www.tourism.go.th

สวรรค์นันธ์ ตันติอุโฆษกุลอัครวงศ์ รัฐศวรรธ์ กิ่งแก้ว เจริญพร เพ็ชรกิจ พวงรัตน์ จินพล.(2560).การท่องเที่ยวเพื่อ (คุณภาพ)ชีวิตวารสาร.เทคโนโลยีภาคใต้ 12(2), 216 -227.