รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สุธาสินี วิยาภรณ์
ตุลา ไชยาศิรินทร์โรจน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
ในการท่องเที่ยวในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์และรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research)เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการ
วิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษา ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์และวิพากษ์ข้อมูลสู่การสังเคราะห์และการศึกษา
วิจัยภาคสนาม (Survey research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)วิธีการสัมภาษณ์(Interview)
และการสังเกตการณ์ (Observation) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดเพชรบูรณ์มีลักษณะพิเศษของการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวเลือก
ที่จะเดินทางไปประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและพักผ่อนหย่อนใจโดยเฉพาะวัดในจังหวัด
เพชรบูรณ์มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโบราณสถาน และโบราณวัตถุนักท่องเที่ยวจึงชอบเดินทาง
มาเยือนเพชรบูรณ์จำ นวนมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
ในการท่องเที่ยวในวัดจังหวัดเพชรบูรณ์พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อสถานที่ท่องเที่ยวและ
การจัดการท่องเที่ยว โดย เรียงตามลำ ดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว รอง
ลงมาคือด้านกลยุทธ์การท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำ นวยความสะดวก ด้านประชาสัมพันธ์และด้านบุคลากร
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวมีความเห็นว่าสิ่งที่วัดควรปรับปรุง สามารถเรียงตามลำ ดับ จากมากไปหาน้อย
ดังนี้ เรื่องการจัดหาถังขยะให้เพียงพอ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของ
สถานที่ท่องเที่ยว และควรมีแผนผังแสดงแหล่งท่องเที่ยวในวัด
ส่วนการศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในวัด สรุปได้3 รูปแบบ ดังนี้คือ
1. การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดทำ แผนผังการใช้สอยพื้นที่ของวัด การจัด
ทำ แผนพัฒนาวัดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และการจัดทำ แผนพัฒนาฟื้นฟูโบราณสถาน


2. การจัดการระบบสื่อความหมาย ได้แก่ การจัดทำ ข้อมูลและฐานข้อมูลของวัดในระบบ
สารสนเทศ และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวัดในวันสำ คัญหรือเทศกาลสำ คัญ
3. การจัดการบุคลากรการท่องเที่ยว ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรของวัดในด้านการท่องเที่ยว
และการพัฒนาจริยธรรมการท่องเที่ยวในวัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ. (2562). ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: การ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กรรณิกา คำดี.(2015).วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว.วารสารบัณฑิตศึกษา 4(2): 175-190
เครือข่ายศาสนิกชนแห่งประเทศไทย. (2552). ท่องเที่ยว แสวงธรรม สร้างแรงบันดาลใจชาวพุทธ. ค้นเมื่อ 5
สิงหาคม 2553, จาก http://board.palungjit.com
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะ.(2548) โครงการมูลค่าเพิ่มในประเทศของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของ
ประเทศไทย. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
วรสิกา อังกูร และคณะวิจัย.(2547) รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา:
กรณีศึกษาแหล่งการเรียนรู้ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ท่องเที่ยวแนวใหม่สร้างโอกาสเอสเอ็มอี. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2562, จาก
http://www.ksmecare.com
สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์.(2562).คู่มือท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562, จาก
http://www.tourism.go.th
สวรรค์นันธ์ ตันติอุโฆษกุลอัครวงศ์ รัฐศวรรธ์ กิ่งแก้ว เจริญพร เพ็ชรกิจ พวงรัตน์ จินพล.(2560).การท่องเที่ยวเพื่อ (คุณภาพ)ชีวิตวารสาร.เทคโนโลยีภาคใต้ 12(2), 216 -227.