การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสุขศึกษา โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการสอนออนไลน์ เรื่อง เพศศึกษาสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา

Main Article Content

อมรเทพ วันดี
บาล ชะใบรัมย์
ณัฐพล สุระกำพล

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เรื่องเพศศึกษาของนักศึกษาระหว่างวิธีสอนด้วยทฤษฎีแรงจูงใจทางจิตวิทยากับวิธีสอนแบบปกติ โดยทำการศึกษาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชา
พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 36 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง โดยได้ทำการสำรวจความพร้อมในการเรียนออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่าง และทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีให้กลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบออนไลน์ใน Google Form และให้เปิดกล้องผ่านโปรแกรม Google Meet ตลอดการสอบ การจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 3 คาบเรียน และกลุ่มควบคุม 3 คาบเรียน รวมทั้งหมด 6 คาบเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t


           ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในกลุ่มที่ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจทางจิตวิทยาร่วมกับวิธีการสอนออนไลน์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนออนไลน์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, มุกดา เดชประพนธ์, ชาลิณีย์ โฆษิตทาภิวัธน์, พิณทิพ รื่นวงษา, ภิญโญ พานิชพันธ์. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนสื่อประสมที่บูรณาการความรู้ด้านกายวิภาค สรีรวิทยา เพื่อส่งเสริมทักษะของนักศึกษาพยาบาลในการตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะ

และ คอ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19 (3), 428 – 443.

ชนาธิป ชินะนาวิน. (2557). การสอนกฎหมาย: ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบบรรยาย การสอนแบบถามตอบ และการสอนแบบทบทวนและถาม. กรุงเทพมหานคร: สมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงศธร สุกิจญาณ. (2564). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านการสอนเพศศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 47(1), 91-99.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). สรุปข้อดีข้อเสียการเรียนออนไลน์. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564, จากhttps://www.thairath.co.th/lifestyle/tech/1848004.

ประภัสสร วัฒนา. (2560). แนวคิดมนุษยนิยมของมาสโลว์ (Maslow) และแนวคิดอัตถิภาวนิยมของฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre). กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยาภัสร์ จารุสวัสดิ์. (2563). การศึกษาความพึงพอใจในการสอนวิชาการรู้สารสนเทศ ด้วยวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วมและการสอนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. มนุษยศาสตร์สาร, 21 (3), 43 – 62.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้ สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34),

-298.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). ความแตกต่างของบุคคล แรงจูงใจ และทฤษฎีการเรียนรู้. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชา กนกถาวรธรรม, นคร ละลอกน้ำ. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ขั้นตอนการสอนของกาเย่ เรื่อง เพศศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21 (4), 329 – 341.