การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสุขศึกษา โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการสอนออนไลน์ เรื่อง เพศศึกษาสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา Development of Learning Achievement in Health Education Using Theories of Motivation with Online Learning on Sex Education for Physical Education Students

Main Article Content

อมรเทพ วันดี
บาล ชะใบรัมย์
ณัฐพล สุระกำพล

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เรื่องเพศศึกษาของนักศึกษาระหว่างวิธีสอนด้วยทฤษฎีแรงจูงใจทางจิตวิทยากับวิธีสอนแบบปกติ โดยทำการศึกษาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชา
พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 36 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง โดยได้ทำการสำรวจความพร้อมในการเรียนออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่าง และทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีให้กลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบออนไลน์ใน Google Form และให้เปิดกล้องผ่านโปรแกรม Google Meet ตลอดการสอบ การจัดการเรียนการสอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 3 คาบเรียน และกลุ่มควบคุม 3 คาบเรียน รวมทั้งหมด 6 คาบเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t


           ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในกลุ่มที่ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจทางจิตวิทยาร่วมกับวิธีการสอนออนไลน์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนออนไลน์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, มุกดา เดชประพนธ์, ชาลิณีย์ โฆษิตทาภิวัธน์, พิณทิพ รื่นวงษา, ภิญโญ พานิชพันธ์. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนสื่อประสมที่บูรณาการความรู้ด้านกายวิภาค สรีรวิทยา เพื่อส่งเสริมทักษะของนักศึกษาพยาบาลในการตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะ

และ คอ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 19 (3), 428 – 443.

ชนาธิป ชินะนาวิน. (2557). การสอนกฎหมาย: ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบบรรยาย การสอนแบบถามตอบ และการสอนแบบทบทวนและถาม. กรุงเทพมหานคร: สมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงศธร สุกิจญาณ. (2564). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านการสอนเพศศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 47(1), 91-99.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). สรุปข้อดีข้อเสียการเรียนออนไลน์. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564, จากhttps://www.thairath.co.th/lifestyle/tech/1848004.

ประภัสสร วัฒนา. (2560). แนวคิดมนุษยนิยมของมาสโลว์ (Maslow) และแนวคิดอัตถิภาวนิยมของฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre). กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยาภัสร์ จารุสวัสดิ์. (2563). การศึกษาความพึงพอใจในการสอนวิชาการรู้สารสนเทศ ด้วยวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วมและการสอนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. มนุษยศาสตร์สาร, 21 (3), 43 – 62.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้ สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34),

-298.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). ความแตกต่างของบุคคล แรงจูงใจ และทฤษฎีการเรียนรู้. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชา กนกถาวรธรรม, นคร ละลอกน้ำ. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ขั้นตอนการสอนของกาเย่ เรื่อง เพศศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21 (4), 329 – 341.