ปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของนักศึกษาพยาบาลของสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • ทิพภา ปุณสีห์ หลักสูตรพุทธจิตวิทยามหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, ความเข้มแข็งทางใจ, นักศึกษาพยาบาล, สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งทางใจของนักศึกษาพยาบาล 2. เพื่อศึกษาปัจจัยบุคคล ปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย เงินที่ได้ต่อเดือนและปัจจัยพุทธจิตวิทยา ได้แก่ ขันติ โสรัจจะ การเห็นคุณค่าในตัวเอง กับความเข้มแข็งทางใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน  221 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลบุคคล แบบสอบถามความเข้มแข็งทางใจ แบบสอบถามขันติ โสรัจจะ แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ อัลฟาครอนบาค ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.864 จำแนกเป็น 1) ความเข้มแข็งทางใจ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.94 2) ขันติ โสรัจจะ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.801 3) การเห็นคุณค่าในตนเอง ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.843 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

             ผลการศึกษาพบว่า 1. ความเข้มแข็งทางใจ ขันติ โสรัจจะ และการเห็นคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.90, S.D. = 0.74; gif.latex?\bar{x} = 3.77, S.D. = 0.84; gif.latex?\bar{x} = 3.67, S.D. = 0.81) ตามลำดับ 2. ปัจจัยบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย เงินที่ได้รับต่อเดือน ไม่สัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( P = 0.004, 0.001, 0.000 และ 0.000) ตามลำดับ ปัจจัยพุทธจิตวิทยา ได้แก่ ขันติ โสรัจจะ การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจในระดับปานกลาง-ระดับมาก (P =0.570, 0.498 และ 0.649) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จิตรภานุ ดำสนวน. (2560). ปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ภูมิคุ้มกันทางใจของวัยรุ่นในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

ชุติมา เพิงใหญ่, ตวงพร ชุมประเสริฐ และ ศรีวัฒนา เพ็ชรรัตน์. (2562) การให้คุณค่าเชิงวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลกับการก้าวสู่วิชาชีพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(3), 226.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2549). อาร์คิว ภูมิคุ้มกันทางใจ RQ -Resilience Quotient. สืบค้น 13 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.happyhomeclinic.com/a21-RQ.htm

นาฏนภางค์ โพธิ์ไพจิตร์. (2560). ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งในการฟื้นพลังของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 253-263.

นฤภัค ฤธาทิพย์. (2562). คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน Strong Together. สืบค้น 24 กรกฎาคม 2565, จาก https://dmh-elibrary.org/items/show/394

ผุสนีย์ แก้วมณีย์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสารการวิจัยและสุขภาพ, 19(3), 160-161.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9, พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะ ครูและนักเรียนโรงเรียนราชวินิต, ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน, วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2518. สืบค้น13 กรกฎาคม 2565, จาก https://sites.google.com/site/rsvsite 16601/Rhrarachthan-kae-khna-khru-laea-nakreiynrongreiyn-rachwinit.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต : แนวคิดการประเมินและการประยุกต์ใช้ = Resilience : concept, assessment, and application (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุดทอง.

มะลิวรรณ วงษ์ขันต์, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และ โสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตวัยรุ่น. วารสารรามาธิบดี, 29(1), 57-75.

วรกมล นาคใหม่, สุเมษย์ หนกหลัง และ อมราพร สุรการ. (2564). กระบวนการเกิดความเข้มแข็งทางจิตใจ: กรณีศึกษาพริตตี้เพศหญิงที่ถูกตีตราจากการประกอบอาชีพ. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา, 10(2), 89-93.

สาระ มุขดี. (2559) การพัฒนารูปแบบการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาสําหรับนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร. คัดจากเทปธรรมอบรมจิต, อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ. สืบค้น 13 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.dhammathai.org/monktalk/dbview.php?No=1236

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

Grotberg, E. H. (2005). Resilience for tomorrow. Retrieved July 7 , 2023, form http://www.resilnet.uiuc.edu/library/grotberg2005_resilience-for-tomorrow-razil.pdf

Keane, A., Ducette, J., & Adler, D. (1985). Stress in ICU and non-ICU nurses. Nursing Research, 34, 231-236.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่