ผลกระทบของการใช้เทคนิคพี่เลี้ยงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ดารินทร อินทับทิม สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นริศา ไพเจริญ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เกริก เจษฎานุวัฒน์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พิชญ์สินี เสถียรธราดล สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ครูภาษาอังกฤษ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การอ่าน, การเขียน, กลุ่มชาติพันธ์ุ, พะเยา

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์พฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษหลังจากใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยง และ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังจากที่ครูภาษาอังกฤษใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยงโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Methods)  และเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียง คำศัพท์ และแต่งประโยคของนักเรียน 2) แบบสังเกตการสอน และ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการสนทนากลุ่มของครู คณะนักวิจัยคัดเลือกครูต้นแบบจำนวน 2 คนให้เป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษแก่ครูภาษาอังกฤษจำนวน 2 คน ข้อมูลเชิงปริมาณ (ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ฯ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ pre-post test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า เทคนิคพี่เลี้ยงทำให้ครูภาษาอังกฤษสามารถใช้นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนด้านพฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษนั้นเป็นไปตามทฤษฎีและกรอบแนวคิดการวิจัยที่ใช้ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงถึง 3 ระดับ คือ 1) สื่อ 2) พฤติกรรม และ 3) ความเชื่อ หลักการ และวิธีการสอน ส่วนผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า นักเรียนของครูภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นในด้านการอ่านออกเสียงและสะกดคำ ยกเว้นด้านการแต่งประโยคเนื่องจากข้อจำกัดด้านระยะเวลาการวิจัย งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในการขยายผลการใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยงให้แพร่หลายผ่านกระบวนการ PLC หากครูภาษาอังกฤษได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ อาจทำให้องค์ความรู้ด้านการใช้นวัตกรรมแพร่หลายมากขึ้น

References

กเชษฐ์ กิ่งชนะ. (2563). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring วิทยาลัยการอาชีพเทิง ปีการศึกษา 2561. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(2), 273-281.

กิตติศักดิ์ แก้วบุตรดี และอัจฉรา กิจเดช. (2561). พัฒนาองค์กรด้วยระบบพี่เลี้ยง (มืออาชีพ). วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 1-8.

เกศแก้ว พรรณเชษฐ์ และทิวัตถ์ มณีโชติ. (2565). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของครูใหม่ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ โดยระบบพี่เลี้ยง. วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม, 14(1), 145-159.

ดารินทร อินทับทิม, นริศา ไพเจริญ, พิชญ์สินี เสถียรธราดล, เกริก เจษฎานุวัฒน์ และน้ำฝน กันมา. (2565). การขยายผลการใช้นวัตกรรมการบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของนักเรียนชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

“________”. (2567). ผลการขยายการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 12(1), 129-155.

ทรงศรี ตุ่นทอง, วิไล ทองแผ่, เนติ เฉลยวาเรศ, บุณยานุช เฉวียงหงส์, สิริพร ดาวัน และณัฐณิชาช์ เสารักษา. (2563). โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตและพัฒนาครู โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการวิจัยเป็นฐานของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางตะวันออก ปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(1), 47-60.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, วารีรัตน์ แก้วอุไร, ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, ฉลอง ชาตรูประชีวิน, อมรรัตน์ วัฒนาธร และทิพยรัตน์ สิทธิวงศ์. (2557). การประเมินโครงการพัฒนาครูคุณภาพโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 และเขต 39 ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(27), 15-31.

นรินทร์ สังข์รักษา, เฉลียว บุรีภักดี, และสุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์. (2558). ประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1, 2), 65-80.

บุหงา วชิระศักดิ์มงคล, และสุภาณี เส็งศรี. (2556). การติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูคุณภาพ โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring): ครูสังกัด สพป.สุโขทัย เขต 2 สาระภาษาไทย. Journal of Education and Innovation, 15(4), 165–172.

พิชญ์สินี เสถียรธราดล, นริศา ไพเจริญ, เกริก เจษฎานุวัฒน์ และดารินทร อินทับทิม. (2565). การใช้รูปแบบการสอนแบบบูรณาการภาษาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถทางการออกเสียง คำศัพท์และการแต่งประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 11(1), 180-201.

รักศักดิ์ เลิศคงคาทิพย์, กิติศักดิ์ เกิดโต, ปฐมพงศ์ อยู่จำนงค์, ธนโชค จันทร์สูง และอุบลวรรณ สายทอง. (2565). ผลการศึกษาการใช้กระบวนการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาเขต 2 จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(6), 59-76.

สุชาติ แวงโสธรณ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาลัย. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(6), 363-384.

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2564). การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4C’s) ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงและการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (CCR) สำหรับนักศึกษาครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 371-388.

อภิญญา ห่านตระกูล, พิชญ์สินี เสถียรธราดล, นริศา ไพเจริญ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, เฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ และดารินทร อินทับทิม. (2564). จากการบูรณาการภาษาศาสตร์สู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 87-109.

Ajzen, I. (1991). Attitude, personality, and behavior. Milton: Open University Press.

Darasawang, P., Reinders, H., and Waters, A. (2015). Innovation in language teaching: The Thai context. In P. Darasawang and H. Reinders (Eds.), Innovation in language learning and teaching: The case in Thailand (pp. 1-14). New York, NY: Palgrave Macmillan.

Kennedy, C. (2011). Models of change and innovation. In K. Hyland and W.L.C. Lillian (Eds.). Innovation and change in English language education (pp. 13-27). Abingdon, Oxon: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22