กุศลจากความกตัญญู
คำสำคัญ:
กุศล, ความกตัญญู, สภาพแวดล้อม, ธรรมชาติ, พุทธจิตวิทยาบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการสร้างกุศลจากความกตัญญูบนพื้นฐานของความเข้าใจเพื่อนมนุษย์และสายสัมพันธ์ของการพึ่งพากัน ความกตัญญูกตเวทีไม่ได้หมายถึงเฉพาะการตอบแทนด้วยการมอบให้ ทดแทนให้ ด้วยวัตถุสิ่งของเงินทองเพื่อคืนคุณกลับให้พ่อแม่และผู้อุปการะเลี้ยงดูเท่านั้น กตัญญูมีความหมายที่ลึกซึ้งในการสนองคุณหรือตอบแทนบุญคุณที่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนหลักความคิดพิจารณาที่ถูกต้อง มีความเหมาะสมในความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้และเป็นผู้รู้คุณท่าน กุศลจากความความกตัญญูส่งผลให้ตนเป็นผู้ให้ รู้จักการให้ ความมีน้ำใจ ความมีเมตตา ผู้ให้ส่วนใหญ่มีความเข้มแข็งทางจิตใจ และสร้างภูมิคุ้มกันทางใจที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสุขภาพจิตในการช่วยลดอาการวิตกกังวล เพิ่มความนับถือตนเอง ทำให้อารมณ์ความคิดจิตใจมีความมั่นคง ส่งผลให้ร่างกายได้พักผ่อนทำให้สุขภาพกายดีขึ้น การตอบแทนความกตัญญูเป็นกุศล คุณธรรมและทัศนคติสากล เป็นพฤติกรรมที่ไม่เพียงเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในครอบครัว พี่น้อง เพื่อน ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ผู้คนในสังคม รวมถึงสรรพสัตว์ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่เราอยู่เท่านั้น หากมนุษย์เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ ธรรมชาติของความเชื่อมโยงในสังคมและสภาพแวดล้อม นอกเหนือจากความกตัญญูที่แสดงต่อบุพการีและเพื่อนมนุษย์แล้ว สรรพสัตว์และสรรพสิ่งต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีคุณและสามารถทดแทนสนองคุณได้ การแสดงความกตัญญูกตเวทีคือการสร้างกุศลจากพื้นฐานความเข้าใจ เห็นความจริงของการเกื้อกูลตามธรรมชาติ การปลูกฝังคุณงามความดีและคุณธรรมให้ตนเอง ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีให้ครอบครัว ให้สังคมและแผ่ขยายไปยังสังคมโลก
References
กฤตพล สุธีภัทรกุล. (2566). กตัญญู แต่เงินไม่พอใช้! ชาวเน็ตสิงคโปร์ถกปม ให้เงินพ่อแม่. สืบค้น 15 สิงหาคม 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1069702
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2563). หลักกรรมสำหรับคนสมัยใหม่. สืบค้น 20 สิงหาคม 2567, จาก https://www.watnyanaves.net/en/book_detail/466
พุทธทาส อินทปัญโญ. (2497). โลกอาจรอดได้ แม้เพราะกตัญญูกตเวที. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-36.htm
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้น 26 กรกฎาคม 2567, จาก https://tripitaka-online.blogspot.com/2016/07/tpd22-02.html
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 20 สิงหาคม 2567, จาก https://dictionary.orst.go.th/
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก. (2523). การบริหารทางจิต สำหรับผู้ใหญ่. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2567, จาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=81&t=55001&p=412710
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
“________”. (2564). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 56). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
สำราญ แสงเดือนฉาย. (2020). การออกแบบสารในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ MESSAGE DESIGN IN NEW NORMAL. สืบค้น 14 สิงหาคม 2567, จาก https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/CommArts-Article21
อภิชาติ คำพวง. (2020). คติด้านความกตัญญู (孝) ในวัฒนธรรมจีน: ภาพสะท้อนจริยศาสตร์ครอบครัวจีนผ่านสำนวน. มนุษยศาสตร์สาร, 21(1), 137-154.
MGR Online. (2556). ชาวเน็ตจีนขำไม่ออก จีนออกกฎหมายบังคับความกตัญญู. สืบค้น 18 สิงหาคม 2567, จาก https://mgronline.com/china/detail/9560000079941
Misty Pratt. (2022). The Science of Gratitude. Retrieved July 24, 2024, from https://www.mindful.org/the-science-of-gratitude/#:~:text=Find%2Dremind%2Dbind%20theory%20suggests,that%20will%20strengthen%20their%20relationships.
Tiffany Sauber Millacci. (2017). What is Gratitude and Why Is It So Important?. Retrieved July 19, 2024, from https://positivepsychology.com/gratitude-appreciation/#what-is-the-gratitude
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.