การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ ปุ่มแม้น สาขาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์ สาขาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความสามารถด้านการอ่าน, การอ่านจับใจความ, การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R, นิทาน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งได้ข้อมูลมาโดยวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทียมนครวิทยา อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 24 คน โดยคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองด้วยวิธีการคำนวณด้วยอัตราส่วนประชากร (Sampling Proportion) และได้กลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster or Area random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความด้วยเทคนิค SQ4R จำนวน 5 แผน รวม 10 ชั่วโมง โดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ที่ 4.46 ระดับความเห็น เหมาะสมมาก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านจับใจความเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ที่ 0.89 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R โดยใช้นิทาน มีดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบความพึงพอใจ อยู่ที่ระดับ 1 ทุกข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (equation), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D), และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test

            ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถด้านการอ่านจับใจความหลังเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สูงกว่าความสามารถด้านการอ่านจับใจความก่อนเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R โดยใช้นิทาน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (equation) = 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.65 โดยด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (equation) = 4.76 รองลงมาคือ ด้านบรรยากาศในชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ย (equation) = 4.71 และด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย (equation) = 4.42 ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรรยา ศรีบัวหลวง. (2559). การศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา.

ชุติมา ยอดตา. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ระพีพรรณ พัฒนเวช. (2553). คู่มือคัดเลือกหนังสือสำหรับเด็กแต่ละวัย. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2565, จาก https://tkp.d.orisma.com/eng/papers_detail/28/

โรงเรียนเทียมนครวิทยา. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2564. นครราชสีมา.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาสน์.

วิไลลักษณ์ ไชยอาจ. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรูเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2556). การอ่านจับใจความ. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิด และยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สมัย ลาสุวรรณ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ก้านการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่