ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พระเทพวิสุทธิโสภณ (เฉลา เตชวนฺโต) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, วิปัสสนา, กรรมฐาน, บัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิต ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวสติปัฎฐานในพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้วิธีการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา พระวิปัสสนาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 25 คน  วิเคราะห์ข้อมูล (content analysis) ที่ได้จากการศึกษาในภาคสนาม

            ผลการวิจัย 1. กรรมฐานในพระพุทธศาสนามีแนวปฏิบัติ 40 วิธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทุกระดับชั้นใช้แนวปฏิบัติสติปัฎฐาน 4 ในการสอนที่เรียกว่า พองหนอ ยุบหนอ 2. การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 1) เป็นรายวิชาที่ต้องมีการเรียนการสอน 2) การปฏิบัติธรรม 30 วัน สำหรับหลักสูตรปริญญาโท และ 45 วัน สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 3) กิจกรรมที่เนื่องด้วยการปฏิบัติธรรม เช่น การเดินธุดงค์ธรรมยาตรา การปฏิบัติธรรมจาริกแสวงบุญในประเทศอินเดีย เป็นต้น 3. ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิต ศึกษา จำแนกได้ 4 คือ 1) ประสิทธิผลทางกาย (กายานุปัสสนา) ใช้กระบวนการทางกายเป็นเครื่องแสวงหาความรู้ ผ่านอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน 2) ประสิทธิผลทางศีล (เวทนานุปัสสนา/สังคม) การเรียนรู้พระพุทธศาสนาผ่านการรับรู้สิ่งที่เข้ามากระทบ รับผิดชอบต่อสังคมและสมาชิกของคนรอบข้างมากขึ้น 3) ประสิทธิผลทางจิต (จิตตานุปัสสนา) เกิดกระบวนการยับยั้งชั่งใจได้มากขึ้น รวมถึง จิตมีพลังในการทำงาน ในการศึกษาเรียนหนังสือ กำลังความคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลมากขึ้น 4) ประสิทธิผลทางปัญญา (ธัมมานุปัสสนา) การใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผลมีผลและเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง

References

ณอภัย พวงมะลิ, มนัส สุวรรณ, สมาน ฟูแสง และ เรืองวิทย์ นนทภา. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่. Veridian E-Journal,Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ). 11(1), 1588-1604.

ธนาคม บรรเทากุล. (2562). การบริหารสำนักวิปัสสนากรรมฐานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). วารสารสันติศึกษา มจร, 7(เพิ่มเติม), 351-361.

นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน และคณะ. (2565). กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างสมาธิกับปัญญาในการปฏิบัติกรรมฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(1), 126-141.

นรวัฒน์ เจริญรัชต์ภาคย์ และสุดาวรรณ สมใจ. (2561). รูปแบบการปฏิบัติธรรม การบริหารจัดการและลักษณะสถานปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(1), 168-179.

พระครูกิตติญาณวิจักษ์ (จักรกฤษณ์ กิตฺติญาโณ). (2566). ถอดบทเรียนจากการเดินธุดงค์ธรรมยาตรา (ครั้งที่ 9) การมีส่วนร่วมกิจกรรมของ มจร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(4), 227-240.

พระครูประคุณวชิราภรณ์ (สมบัติ วงษ์ทัพ). (2563). ศักยภาพพระวิปัสสนาจารย์ : รูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ สำนักปฏิบัติธรรมบนฐานพุทธธรรม. วารสารบัณฑิตศาสน์ มมร, 18(1), 107-166.

พระครูภาวนาวีรานุสิฐ วิ. (วีรวงศ์ ปญฺญาวุฑฺโฒ). (2560). รูปแบบการสอบอารมณ์กลุ่มเพื่อการให้การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(ฉบับพิเศษ), 531-365.

พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2563). ธุดงค์ธรรมยาตราครั้งที่ 8 จังหวัดระยอง : กระบวนการพัฒนาเจตคติตามคติของธุดงค์วัตรในพระพุทธศาสนา. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาชิต ฐานจิตฺโต และคณะ. (2561). การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(3), 1171-1181.

พระมหาวินัย วชิรเมธี. (2015). ศึกษาขณิกสมาธิในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตร. วารสารบัณฑิตศาสน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 13 (2),76-84.

พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย. ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา, 6(1), 5-50.

พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร. (2564). การปฏิบัติกรรมฐานเพื่อบำบัดความเครียด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 329-342.

พระมหาเอกชัย วิสุทฺโธ และ อภิวัฒชัย พุทธจร. (2564). ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ในโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประจำปี 2563 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย. วารสารศึกษิตาลัย, 2(2), 57-70.

พระราชปริยัติกวี. (2560). กรรมฐานในพระพุทธศาสนา: บทเรียนจากมหาสติปัฏฐานสูตรและความนิยมในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(2), 1-20.

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย). (2543). การฝึกอบรมกรรมฐานภาคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามงกุฏราชวิทยาลัย.

ศุภกร เรืองวิชญกุล, พระราชปริยัติมุนี (เทียบ สิริญาโณ) และ แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม. (2564). การศึกษาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวของพุทธทาสภิกขุ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(3), 26-37.

สุมนา เลียบทวี และ นพพร จันทรนำชู. (2555). การเจริญวิปัสสนาตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของมนุษย์: กรณีศึกษาหลักสูตรวิปัสสนาเบื้องต้น ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(2), 235-250.

อำพล บุดดาสาร และ พระมหาชิต ฐานชิโต. (2559). พุทธวิธีการสอนให้บรรลุธรรมตามลำดับวิปัสสนาญาณแก่ผู้ฟังและผู้ปฏิบัติธรรม. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 2(1), 59-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

(เฉลา เตชวนฺโต) พ. (2024). ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 105–118. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279527