การพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกันโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO – 5 STEPs) ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • สมชาย ทุนมาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ทรงภพ ขุนมธุรส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การเขียนเรียงความ, ความผูกพัน, การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง, แบบฝึกทักษะ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย และ 4. เปรียบเทียบความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกันหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบสุ่มกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 6 ห้องเรียน รวม 217 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนที่ใช้ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นสุโขทัย 2) แบบวัดความสามารถการเขียนเรียงความและเกณฑ์การให้คะแนน 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ และ 4) แบบวัดความยึดมั่นผูกพันกับการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.06/81.67 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนมีความสามารถการเขียนเรียงความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4. นักเรียนที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกัน หลังเรียนมีความสามารถการเขียนเรียงความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กมลรัตน์ สิงห์แก้ว. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกที่บูรณาการท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

กฤษณะ โต๊ะดำ, กิตติธัช คงชะวัน, และวิภาฤดี วิภาวิน. (2565). กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO – 5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. ใน พิชิต จันทร์กิ่งทอง (บ.ก.), การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. (น. 1947-1962). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7 - 20.

ถวัลย์ มาศจรัส, สมปอง แว่นไธสง, และบังอร สงวนหมู่. (2550). นวัตกรรมการศึกษาชุดแบบฝึกหัด แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการจัดทำผลงานวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

ทิพอาภา กลิ่นคำหอม. (2556). โมเดลเชิงสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากอิทธิพลของครู (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นพมาศ ว่องวิทยสกุล. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา: การทดลองแบบอนุกรมเวลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข (2563). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมวพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยในชั้นเรียน: หลักการและเทคนิคปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ภาสกร เกิดอ่อน, ระวีวรรณ อินทรประพันธ์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และกัลยา สหชาติโกสีย์. (2559). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ม.5 (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

ยุวดี พันธ์สุจริต. (2554). การวิเคราะห์โมเดลทางเลือกของความยึดมั่นผูกพันกับโรงเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านการเรียนรู้แบบลุ่มลึก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2557). การเขียนเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพล วิบูลยศริน. (2561). วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรประภา บัวคอม. (2566). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความด้วยแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. สืบค้น 16 เมษายน 2567, จาก https://ojs.mcupr.ac.th/index.php/jgrp/article/view/169

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

อรธิดา ประสาร, จำเริญ อุ่นแก้ว และพัชรา ปราชญ์เวทย์. (2561). การพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิทยาลัยพระบาทนโรดม จังหวัดไปรแวง ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ, 12(3), 70-77. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2567, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ sskrujournal/article/view/149081/109511?fbclid=IwAR0JE6We3wTdWFtuNsc3wr8I8CVZVY7gAU0kejmDvdDURQjGpIlL7U_eTSU

White, Freed D. (1983). The Writer’s Art. California: Wadsworth Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-21

How to Cite

ทุนมาก ส., ขุนมธุรส ท., & โตพิทักษ์ ก. (2024). การพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกันโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO – 5 STEPs) ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 215–238. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279245

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่