ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ปานทิพย์ มีสัตย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธริสรา จิรเสถียรพร สาขาวิชาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธีรพล ผังดี สาขาวิชาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การบริโภคอาหาร, ระดับน้ำตาลในเลือด, การรับรู้ความสามารถของตนเอง,, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก 1. เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม และวัตถุประสงค์รอง 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือดภายในกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติของสถานบริการทางสาธารณสุข 3. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือด ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติของสถานบริการทางสาธารณสุข การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดศึกษา 2 กลุ่ม แบบวัดก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลวิจัยคือแบบสอบถาม และโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิงใช้ Paired-Sample t-test และ Independent t-test

            จากผลการศึกษาพบว่า 1. ผลของโปรแกรมฯ มีประสิทธิผลต่อกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ สูงกว่า และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการวิจัยมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกัน 3. กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ สูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯ

References

กองโรคไม่ติดต่อ. (2566). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2560–2564. สืบค้น 14 มีนาคม 2566, จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020

เพ็ญวดี โรจน์เรืองนนท์ และ คณะ. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถของตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. วารสารกรมการแพทย์, 46(3), 81-88.

ภาสิต ศิริเทศ และ ณพวิทย์ ธรรมสีหา. (2562). ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 50-62.

ยุภา พวงเงิน และจักรกฤษณ์ พลราชม. (2566). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในชุมชน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 17(2), 1-12.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวานปีที่ผ่านมา(Pre-DM). สืบค้น 14 มีนาคม 2566, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=d3aad6d7729c370287f43d1f094b3dd1

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ จังหวัดสมุทรสงคราม. (2566). ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เขตสุขภาพที่ 5 จังหวัดสมุทรสงคราม. สืบค้น 14 มีนาคม 2566, จาก https://skm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id =6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48

วิชัย เอกพลากร. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ.2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิไล แสนยาเจริญกุล, กีรดา ไกรนุวัตร และปิยะธิดา นาคะเกษียร. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 37(1), 59-69.

สมร จําปาทิพย์. (2565). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความตระหนัก ความสมดุลในการตัดสินใจการรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(2), 43-54.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ : บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

อุมากร ใจยั่งยืน, สุภาภรณ์ วรอรุณ และ สาวิตรี ศิริผลวุฒิชัย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในกลุ่มเสี่ยง. วารสารกองการพยาบาล, 49(1), 1-13.

Galaviz, K. I., Weber, M. B., Straus, A., Haw, J. S., Narayan, K. M. V., & Ali, M. K. (2018). Global Diabetes Prevention Interventions: A Systematic Review and Network Meta-analysis of the Real-World Impact on Incidence, Weight, and Glucose. Diabetes Care, 41(7), 1526-1534.

Haw, J. S., Galaviz, K. I., Straus, A. N., Kowalski, A. J., Magee, M. J., Weber, M. B., . . . Ali, M. K. (2017). Long-term Sustainability of Diabetes Prevention Approaches: A Systematic Review and Meta-analysis of Randomized Clinical Trials. JAMA Intern Med, 177(12),1808-1817.

International Diabetes Federation. (2021). IDF Diabetes Atlas 10th. Retrieved Jul 2, 2023, from https://diabetesatlas.org/

Jeem, Y. A., Andriani, R. N., Nabila, R., Emelia, D. D., Lazuardi, L., & Koesnanto, H. (2022). The Use of Mobile Health Interventions for Outcomes among Middle-Aged and Elderly Patients with Prediabetes: A Systematic Review. Int J Environ Res Public Health, 19(20), 1-33.

Polit, D.F., & Hunger, B.P. (1995). Nursing Research: Principles and Methods. Philadelphia: Lippincott.

World Health Organization. (2023). Diabetes. Retrieved Jul 2, 2023, from https://www.who.int/news-room/ fact-sheets/detail/diabetes

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่