ผลการพัฒนาความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งด้วยการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม

ผู้แต่ง

  • อรทัย สิทธิจารย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชลพร กองคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กาญจนา สุทธิเนียม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การให้การปรึกษากลุ่ม, ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม, ความรับผิดชอบในการเรียน

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม 2. เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบของโรงเรียน ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จำนวน 148 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 16 คน วัดจากการตอบแบบประเมินพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียน และคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการให้การปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.96 และการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบใช้ Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test

             พบผลการวิจัยดังนี้ 1. ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมนักเรียนมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนด้านด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายามสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หากพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับความรับผิดชอบในการเรียน มีความมุ่งมั่นและเพียรพยายาม ด้านความตรงต่อเวลา ด้านความเคารพในระเบียบ กฎเกณฑ์และด้านการยอมรับการกระทำของตน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีความรับผิดชอบในการเรียนด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายามสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปกติของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม สามารถพัฒนาความรับผิดชอบในตนเองได้ โดยมีแนวคิดและเทคนิคของการให้การปรึกษากลุ่ม เช่น การเผชิญหน้า การเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ มุมมองความคิดและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของกลุ่มเพื่อนเกิดความปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มรวมถึงพฤติกรรมและการแสดงออก สามารถพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น หากพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับความรับผิดชอบในการเรียน มีดังนี้ ด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายาม ด้านความตรงต่อเวลา และด้านการยอมรับการกระทำของตน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ส่วนด้านความเคารพในระเบียบ กฎเกณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

References

จิรัฐา โนยราษฎร์. (2563). การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้กิจกรรมแนะแนว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ชัยธวัช อุตเสน. (2551). การเปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีต่อความรับผิดชอบทางการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ระหว่างทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางและทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (การศึกษามหาบัณฑิต จิตวิทยาการให้คำปรึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

นพพร แสงทอง. (2563). การเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาโดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

เบญญาภา หลวงราช. (2560) .ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปกร. กรุงเทพฯ.

ประกิต วิทยสัมพันธ์. (2560). รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมด้านการมีวินัยของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารช่อพะยอม, 29(1), 225-235.

พนม เกตุมาน. (2560). ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พสุ วุฒินันท์ และ นาฏนภางค์ โพธิ์ไพจิตร. (2563). แนวทางการให้คำปรึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม Counseling approach based on behavioral theory. วารสารพุทธจิตวิทยา, 6(1), 1-18.

พระครูนิวิฐธุราทร.(2560). พรหมวิหารธรรม. สืบค้น 12 มีนาคม 2567, จาก https://www.gotoknow.org/posts/252165

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา และ วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรณ์ทิพย์ ศิริกุลวิเชฐ. (2562). ผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมต่อการมีวินัยในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภภัฎบุรีรัมย์, 14(1), 76-90.

ยุภาวดี ชำนาญเวช. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของการขาดความรับผิดชอบของนักเรียนในชุมชนชนบท. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทไทย, 4(1), 45-54.

วรรณา เสนีย์วงศ์, ทรงวุฒิ อยู่เอียม และ เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2562). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมต่อความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

สุวมาศ ไชยบูรณ์. (2561). การเปรียบเทียบผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมเพื่อลดพฤติกรรมไม่เหมาะสมในการเรียนของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การวิจัยและพัฒนารูปแบบกลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Adlya.S.I. (2020). The contribution of self control to students’ discipline. Universitas Negeri Padang.

Blumberg P., and McCann A. (2009). Developing Learner-Centered Teaching: A Practical Guide for Faculty. Journal of Dental Education, 73, 1125-1126.

Carpenter, J., and Pease, J. (2013). Preparing Students to Take Responsibility for Learning: The Role of Non-Curricular Learning Strategies. Journal of Curriculum and Instruction, 7, 38-55.

Eisler, R. (2000). Tomorrow’s children. USA: Westview Press.

Fritz, J. (2017). Using Analytics to Nudge Student Responsibility for Learning. New Directions for Higher Education, 2017(179), 65-75.

Jacobs, E., Masson, L., & Harvill, L. (2002). Group counseling: strategies and skills (3rd). CA: Brooks/Cole.

Ohlsen, M. M. (1970). Group counseling. New York: Rinehart and Winston, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่