การอนุรักษ์เสือโคร่งป่าห้วยขาแข้งตามหลักพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
พุทธศาสนา, การอนุรักษ์เสือโคร่ง, ป่าห้วยขาแข้ง, อิทัปปัจจยตา, พรหมวิหาร 4บทคัดย่อ
การอนุรักษ์เสือโคร่งป่าห้วยขาแข้งตามหลักพระพุทธศาสนาด้วยการนำเอาหลัก อิทัปปัจจยตาที่กล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปัจจัยทุกของสรรพสิ่งบนโลกนี้ที่ต้องมีการเกื้อกูลสนับสนุนกันและกันอย่างมีระบบว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมต้องมีปัจจัยมาเกื้อหนุนให้เกิดและสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับไป ย่อมมีปัจจัยมาเกื้อหนุนให้ดับไปเช่นกัน และหลักพรหมวิหาร 4 เป็นแนวทางสำคัญในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนเมื่อเรามีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา ย่อมเกิดความรักความห่วงใยและความรับผิดชอบต่อธรรมชาติร่วมกันดูแลปกป้องและอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้อื่นและสรรพสัตว์ทั้งหลายมาประยุกต์ใช้เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งแห่งป่าห้วยขาแข้งที่ในปัจจุบันต้องเผชิญกับวิกฤตการใกล้สูญพันธุ์จากภัยคุกคามจากมนุษย์ เช่น การรุกล้ำป่า การล่าสัตว์ป่า การค้าสัตว์ป่า ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่งอินโดจีนที่มีถิ่นอาศัยอยู่ ณ ป่าแห่งนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 80 - 100 ตัว อันแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติ การอนุรักษ์เสือโคร่งแห่งป่าห้วยขาแข้งจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน แต่ก็ต้องคำนึงถึงสัตว์ป่าอื่น ๆ ในระบบนิเวศทางธรรมชาติด้วย เพราะต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น เสือโคร่งจำเป็นต้องมีเหยื่อที่เป็นสัตว์กินพืช สัตว์กินพืชก็จำเป็นต้องมี พืชพรรณต้นไม้ไว้เป็นอาหาร พืชพรรณต้นไม้ต้องอาศัยน้ำและแร่ธาตุโดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง ดังนั้น การอนุรักษ์เสือโคร่งป่าห้วยขาแข้งตามหลักพระพุทธศาสนาให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยการใช้แนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมมาปรับใช้เป็นแนวทางให้กับชุมชนในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน เพื่อปกป้องเสือโคร่งอินโดจีนอันเป็นห่วงโซ่อาหารอันดับหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งผืนป่าห้วยขาแข้งที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นมรดกอันล้ำค่าทางธรรมชาติให้ดำรงคงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป เพราะหากว่าเสือโคร่งหายไปจากป่าเมื่อใด ความสมดุลของระบบนิเวศก็จะค่อย ๆ หายไปเช่นกัน
References
จินตนา แก้วใส และคณะ. (2561). ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเสือโคร่งในประเทศไทย: ผลกระทบจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่และการลักลอบล่าสัตว์. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(2), 313-323.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ และคณะ. (2549). การติดตามประชากรเสือโคร่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร. รวมบทคัดย่อการสัมมนาทางวิชาการเรื่องสัตว์ป่าเมืองไทย ครั้งที่ 27: การฟื้นฟูสัตว์ป่า. การสัมมนาทางวิชาการเรื่องสัตว์ป่าเมืองไทย ครั้งที่ 27 : การฟื้นฟูสัตว์ป่า. (น. 74). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า-ประเทศไทย และ องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
“________”. (2007). ประชากรและถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การสัตว์ป่า, 31(2). 142-153.
ส.สุขสะเวต และคณะ. (2022). การใช้ที่อยู่อาศัยเชิงพื้นที่และชั่วคราวโดยเสือโคร่งสายพันธุ์เหยื่อหลักในพื้นที่คุ้มครองสองแห่งของป่าตะวันตกตอนใต้ของประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ, 20(6). 563–574.
หทัยทิพย์ หงส์ชูเกียรติ. (2566). วิกฤตเสือโคร่งไทย นักล่าแห่งพงไพรกับเส้นทางของผู้พิทักษ์. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.anurakmag.com/featured-posts/12/25/2023/thai-tiger-crisis-hunter-of-the-forest-and-the-path-of-the-guardian-dr-saksit-simcharoen.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.