การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเกมเพื่อเสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา
คำสำคัญ:
การพัฒนาเกม, สมรรถนะทางการเคลื่อนไหว, สมาธิในการเรียนรู้, การประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเกมเพื่อเสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา 2. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้ และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Method) โดยนำข้อมูลที่ได้จากปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิมาวิเคราะห์ในประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเกมเพื่อเสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า เกมที่ควรนำมาใช้กับเด็กประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหว ควรเป็นเกมที่ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวไปพร้อมกับการฝึกทักษะการคิด และนำไปสู่ทักษะกีฬาเบื้องต้นของเด็กประถมศึกษา รูปแบบมีทั้งการแข่งขันเป็นแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม ควรเป็นเกมที่มีกฎ กติกา และเงื่อนไขในการเล่นง่าย ไม่ซับซ้อน เกมต้องให้เด็กมีความสนุกสนาน 2. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการ พัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา ควรประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้ 1) เพิ่มทักษะความรู้ของครู 2) ศึกษารายละเอียดของเกมประเภทต่าง ๆ 3) ทำการสร้างเกม 4) กำหนดระยะเวลาในการเล่นเกม 5) การประเมินผล 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้ และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษาผลการวิจัยพบว่า ประเภทของเกมที่นำมาใช้สำหรับเด็กประถมศึกษา มีดังนี้ คือ 1) เกมการเล่น 2) เกมกีฬา 3) เกมแบบกลุ่ม ครูผู้สอนควรเลือกใช้เกมให้เหมาะสมกับวัย, ความปลอดภัย เกมควรมีลักษณะการฝึกสมาธิให้กับเด็กเพื่อพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
“________”. (2547). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
“________”. (2548). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
“________”. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. (2542). คู่มือสำหรับการสอนและการคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเกม. ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2560). การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนะชัย โลหะการ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เกมประกอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. สืบค้น 25 มีนาคม 2567, จาก https://regis.nsru.ac.th/gtips/storage/files/archived/c0baa1b4c311ce46.pdf
นภัทร แกวนาค. (2548). เทคนิคการวิเคราะหขอมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อักษรวัฒนา.
พรทิพย์ กันทาสม. (2551). ผลการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. สืบค้น 25 มีนาคม 2567, จาก http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/12698
ไพวัน เพลิดพราว. (2559). การเคลื่อนไหวเบื้องต้น (Basic Movement). สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี.
รวีพร จรูญพันธ์เกษม. (2558). กลยุทธ์กระบวนการพัฒนาเกมส์ทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สิทธิพงษ์ ปานนาค. (2563). การประยุกต์ใช้เกมในการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 63.
Wittrock, M.C. and Baker, E.L. (1991). Testing and Cognition. Englewood Cliffs, Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.