โปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน

ผู้แต่ง

  • พระมหาญาณภัทร อติพโล หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, นิเวศภาวนา, อนุรักษ์ป่าไม้, เยาวชน

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องและนิเวศภาวนาเพื่อสังเคราะห์แนวคิดพุทธจิตวิทยาวิถีวิถีนิเวศภาวนา 2. เพื่อสังเคราะห์คุณลักษณะและปัจจัยของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน 3. เพื่อพัฒนาและประเมินโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีและการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขยายผลวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนโรงเรียนมัธยมวัดสำนักคร้อ กําหนดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดเจตคติและความตระหนักรู้สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ของเยาวชนและโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน วิเคราะหข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (two – way repeated measures ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลวิจัยพบว่า

  1. แนวคิดพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนา คือ แนวคิดบูรณาการหลักพุทธธรรมไตรสิกขาและหลักพุทธธรรมปรโตโฆสะร่วมกับทฤษฎีจิตวิทยาและแนวคิดนิเวศภาวนา 2. คุณลักษณะและปัจจัยของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีวิถีนิเวศภาวนา คือ 1.การเห็นความงาม 2. การเห็นคุณค่า 3. การเกิดความกลัวว่าป่าไม้จะหมดไป 4. การเกิดความตั้งใจจะอนุรักษ์ 3. ผลการทดลองโปรแกรมเกิดพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมคือ เจตคติและความตระหนัก 4 ด้าน พบว่า เยาวชนลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ผลวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพยืนยันสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้เกิดพฤติกกรรมสิ่งแวดล้อมในการอนุรักษ์ป่าไม้ซึ่งนำไปสู่การอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป

References

ค้าวิเศษ เพ็งวันสวรรค์. (2561). แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้เขตป่าสงวนแห่งชาติดงหัวสาวพื้นที่บ้านน้้าพาก เมืองปทุมพร แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(2), 9.

ชลธิรา ชาวบ้านกร่าง. (2561). การสำรวจความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. ใน การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 (น. 172). กรุงเทพฯ: มหาวทิยาลยัธุรกิจบัณฑิตย์.

พระครูพิพิธจารุธรรม, ดร. (2557). แนวทางการอนุรักษ์ป่าตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนาเถรวาท (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลินดา การภักดี. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมน่ารู้เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560 - 2564). สืบค้น 2 ธันวาคม 2564, จากhttp://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12

How to Cite

อติพโล พ. (2024). โปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(1), 57–70. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/273644