ปลดล๊อคความเปราะบางด้วยหลักพุทธจิตวิทยาภาวะผู้นำ ในธุรกิจเครือข่าย MLM

ผู้แต่ง

  • วิไล ถาวรสุวรรณ นักธุรกิจระดับไพลินสองผู้สถาปนาแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • สุวัฒสัน รักขันโท ภาควิชาจิตวิทยา, คณะมนุษย์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธานี ชูกำเนิด สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความเปราะบาง, กลยุทธ์, พุทธจิตวิทยา, ภาวะผู้นำ, ธุรกิจเครือข่าย

บทคัดย่อ

            การเผชิญกับความเปราะบางทางสังคมในยุคปัจจุบันเรียกว่ายุค BANI World ซึ่งกล่าวได้ว่า BANI เป็นมากกว่า “สถานการณ์” (ผันผวน, ไม่แน่นอน, ซับซ้อน, คลุมเครือ) โดยเป็นการมองไปถึงผลกระทบ “ด้านอารมณ์ของคน” และคนคือผลรวมของเครือข่ายองค์กร ทั้งเครือข่ายผู้บริโภคและเครือข่ายผู้นำหรืออาจเป็นทั้งสองบริบทในคนเดียวกัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการลดระดับความมั่งคั่งเศรษฐกิจครัวเรือน ลดทอนความมั่นคงทางสังคม การนำกลยุทธิ์พุทธจิตวิทยาภาวะผู้นำมาช่วยปลดล๊อค เพื่อคลายความวิตกกังวล สร้างความพร้อมและความเชื่อมั่นใหม่ในกรอบความคิดใหม่ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารความสำเร็จและความสำเร็จ คือ ผลผลิตของการตัดสินใจลงมือทำ เกิดจากองค์ประกอบหลักได้แก่เป้าหมาย ความเชื่อ ทัศนคติ ความเข้าใจและการตัดใจลงมือทำ ซึ่งเป็นคุณลักษณะของภาวะผู้นำ (Leader ship) โดยเฉพาะผู้นำในองค์กรธุรกิจเครือข่าย MLM (Multi-level Marketing) ที่มีบทบาทเชิงกลยุทธ์ ในการดูแลทั้งเป้าหมายส่วนตัว และเป้าหมายองค์กร ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ผู้เขียนได้นำเสนอหลักธรรมของพุทธจิตวิทยาภาวะผู้นำเป็นกลยุทธ์ในการบริหารตน บริหารคนและบริหารงาน ขององค์กรธุรกิจเครือข่าย MLM เพื่อปลดล๊อคความวิตกกังวลในยุคแห่งความเปราะบาง หรือ BANI World

References

ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์. (2022). จาก VUCA world สู่ BANI world. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/business/ business/1033959

ไทยโพสต์. (2566). ปลัดศธ.ชี้โลกเข้าสู่ยุค BANI World รวมความปั่นป่วนไว้ทั้งหมด กระทบการศึกษาโดยตรง มอบนโยบายรับมือ อุดเรียนรู้ถดถอย. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566, จาก https://www.thaipost.net/education-news/255668/

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภานุวังโส และ มิน ชอง ชิน. (2549). เกินกว่าฟรอยด์จะจินตนาการ. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ 15. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

“________”. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ 25. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2555). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2564). โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย: ความเปราะบางท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566, จาก https://www.pier.or.th/abridged/2021/16

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.

สุรเชษฐ์ เชื้อศรี. (2022). สารจากนายกสมาคมการขายตรงไทย. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566, จาก http://www.tdsa.org

เลิศ ชูสกุล. (2021). สงครามเย็น(ใน)ระหว่าง โบว์ขาว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

วิไล ถาวรสุวรรณ. (2565). คุณลักษณะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามแนวพุทธจิตวิทยาในองค์กรธุรกิจเครือข่าย (วิทยานิพนธ์นิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

Jamais Cascio. (2020). โลกยุคบานี่ (BANI World). สืบค้น 4 ตุลาคม 2566, จาก https://www.iok2u.com/article/innovation/bani-world

Maslow. A.H. (1970). Motivation and personality. Ed. New York: Harper 8 Row.

Ralph Stogdill. (1950). Leadership Membership and Organization. Psychological Bulletin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28