การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • สิทธิศักดิ์ พรมสิทธิ์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • กันต์ภูษิต วิโรจะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบคุณภาพและล่าม บริษัท Dick’s Sporting Goods
  • วันวิสาข์ เชื้อขวด ครูศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุทัยธานี
  • ณัฐวุฒิ เชื้อขวด สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ทักษะการพูด, ภาษาอังกฤษ, การสื่อสารในชีวิตประจำวัน, บทบาทสมมติ, การเรียนรู้

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติก่อนและหลังเรียน และ 2. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อบทเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การวิจัยนี้เป็นการทดลองเชิงวิจัยเบื้องต้น กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอลานสัก โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  2. นักเรียนมีความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.58, S.D.=0.14)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

“________”. (2551). หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

กาญจนา ไกลถิ่น. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะความร่วมมือของนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา.

กานต์ญาณิศา สุนทร, สุรกานต์ จังหาร และ ประสพสุข ฤทธิเดช. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(3), 131-141.

เกศสุดา ปงลังกา. (2550). การศึกษาการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

จตุพล นามนาย. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา.

ชนาภา ไชยงาม และธรรมนูญ พัมมะนา. (2563). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดงน้อยด้วยบทบาทสมมติ (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: โรงเรียนบ้านดงน้อย จังหวัดมหาสารคาม.

ณัฎฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และ ธัญภา ชิระมณี. (2558). ความสำคัญของภาษาของภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ณัฐชญา บุปผาชาติ. (2561). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสาหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

บวรจิต พลขันธ์. (2551). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลอง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

ปิยวรรณ รุ่งวรพงศ์. (2557). ปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 20(1), 12-15.

ศศิกานต์ โคตรนาถ และ อโณทัย พลเยี่ยม เพชรแสง. (2564). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 82-92.

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555, 31 ตุลาคม). คอลัมน์บันทึกอาเซียน: อาเซียนกับการศึกษาไทย. เดลินิวส์.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brown, H. D. (2001). Teaching by Principles: An Interactive Approach to Language Pedagogy. White Plains, New York: Longman.

Crystal, D. (2000). English as a Global Language. Cambridge: Cambridge University Press.

Littlewood, W. (1983). Foreign and Second Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Nunan, D. (1991). Language Teaching Methodology. London: Prentice Hall.

Revell, J. (1979). Teaching techniques for communicative English. Hong Kong: The McMillan Press.

Richards, J. (1998). Beyond Training: Perspectives on Language Teacher Education. Cambridge: Cambridge University Press.

Ur, P. (1998). A Course in Language Teaching: Practice and Theory. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27