การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ณฐวัฒน์ ธิมิตร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน
  • พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ หลักสูตรรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ
  • ธิติวุฒิ หมั่นมี หลักสูตรรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, บุคลากร, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วน ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ประยุกต์หลักภาวนา 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงโดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์การวิจัยเชิง คุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. คุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าบุคลากรที่มี เพศ อายุ สถานภาพ และเงินเดือน/ค่าตอบแทน ไม่แตกต่าง บุคลากรมีระดับการศึกษา ตำแหน่งและระยะเวลาในการทำงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญสถิติอยู่ในระดับ 0.01 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา ตามหลักภาวนา 4 มีการสำรวมกายวาจาช่วยเหลือช่วยเกื้อกูลกัน ดำรงชีพประกอบอาชีพสุจริตระเบียบวินัย บุคลากรผ่านการอบรมวิปัสสนากรรมฐานนำมาใช้ในชีวิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ตรีชฎา อุ่นเรือน. (2545). คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนกรมวิชาการเกษตรในส่วนกลาง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ธิดาวัลย์ ปลื้มคิด. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

รณัชฤดี ปองกันภัย. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแหงชาติ : กรณีศึกษาพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทจูนพับลิชชิ่งจำกัด.

สุรางค์ทิพย์ ทะวิไชย. (2549). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 8 มิถุนายน 2566, จาก https://www.lp-pao.go.th/Plan/images/book/Book-005.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2566–2570) ฉบับที่ 13. สืบค้น สืบค้น 8 มิถุนายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=13651&filename=develop_issue

อำนาจ เจริญสุข. (2557). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการตำรวจศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

ธิมิตร ณ., วชิรปญฺโญ พ. ., & หมั่นมี ธ. (2023). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 9(2), 171–185. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/269602