คำเรียกชื่อพืชแบบภาษาถิ่นล้านนาไทยรอบกว๊านพะเยา กรณีศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์

ผู้แต่ง

  • สมหมาย รอดแป้น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พิชญ์สินี เสถียรธราดล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กมลาวดี บุรณวัณณะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธรณ์ธนนัณท์ ไชยวงศ์ษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธัญพร มูลกาวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

พืช, ภาษาถิ่นล้านนาไทย, กว๊านพะเยา, ภาษาศาสตร์, พฤกษศาสตร์, ชาติพันธ์

บทคัดย่อ

             การวิจัยเรื่องการศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์ คำเรียกชื่อพืชแบบภาษาถิ่นล้านนาไทยรอบกว๊าน พะเยา มีวัตถุประสงค์ในงานวิจัย 2 ข้อ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาคำเรียกชื่อพืชของหมู่บ้านที่อยู่โดยรอบกว๊านพะเยา และ 2. เพื่อศึกษาโครงสร้างคำเรียกชื่อพืชของหมู่บ้านรอบกว๊านพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นผู้บอกภาษาที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป โดยแบ่งเป็นผู้บอกภาษาชาย 8 คน และหญิง 8 คน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรอบกว๊านพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แผ่นรูปภาพของพันธุ์ไม้ พร้อมชื่อมาตรฐานไทยของพันธุ์ไม่จำนวน 174 ชนิด

             ผลการศึกษาพบว่า

             ลักษณะไวยากรณ์ของคำเรียกชื่อพืชในภาษาไทยถิ่นพะเยาประกอบด้วยส่วนประกอบทั้งสิ้น 4 ส่วน ได้แก่ 1. คำบ่งกลุ่ม 2. หน่วยคำบ่งกลุ่ม 3. แก่นชื่อ 4. คำขยาย และสามารถจัดเรียงตามโครงสร้างระบบการแบ่งกลุ่มแบบพื้นบ้านได้ 3 โครงสร้าง ได้แก่ 1. โครงสร้างคำเรียกชื่อพืชแบบ 1 องค์ประกอบ ซึ่งมีแก่นชื่อ เป็นองค์ประกอบเดียว เช่น ขิง 2. โครงสร้างคำเรียกชื่อพืชแบบ 2 องค์ประกอบ ซึ่งมี คำบ่งกลุ่ม หรือ หน่วยคำบ่งกลุ่ม กับแก่นชื่อ เป็นองค์ปะกอบ เช่น ผักหนอง และ3. โครงสร้างคำเรียกชื่อพืชแบบ 3 องค์ประกอบ ซึ่งมี คำบ่งกลุ่ม หรือ หน่วยคำบ่งกลุ่ม ประกอบกับแก่นชื่อและคำขยายเป็นองค์ประกอบ เช่น บ่ะเขี่ยแจ้ ทั้งนี้ไม่พบการปรากฎร่วมขององค์ประกอบทั้ง 4 ในชื่อพืชเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่พบการปรากฏร่วมคำบ่งกลุ่มและหน่วยคำบ่งกลุ่ม

References

มนสิการ เฮงสุวรรณ. (2557). การศึกษาระบบคําเรียกผีและมโนทัศน์เรื่องผีในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สมหมาย รอดแป้น และ พิชญ์สินี เสถียรธราดล. (2555). ภูมินามของหมู่บ้านรอบกว๊านพะเยา. ใน The 1st Nong Khai Campus International Conference 2013: Building up of the research based knowledge for sustainable development of the Greater Mekong Sub-region, 18-19 มิถุนายน 2555. หนองคาย.

สุรางคนา แก้วน้ำดี. (2536). การแปรของคำเรียกชื่อพืชกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษาไทยถิ่นและภาษาไทยถิ่นย่อย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). กว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2557). การศึกษาคำเรียกชื่อพืชพื้นบ้านไทย กรณีศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา และ สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์. (2556). การศึกษาคำเรียกชื่อพืชในกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือ. Naresuan University Journal, 21(1), 72-92.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research methods in education (8th ed. ed.). London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

รอดแป้น ส., เสถียรธราดล พ., บุรณวัณณะ ก., ไชยวงศ์ษา ธ., & มูลกาวิล ธ. (2023). คำเรียกชื่อพืชแบบภาษาถิ่นล้านนาไทยรอบกว๊านพะเยา กรณีศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 9(2), 247–262. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/267156