รูปแบบพุทธจิตวิทยาสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ผู้แต่ง

  • สุภีมวัจน์ สุริโย หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุวัฒสัน รักขันโท ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, พุทธจิตวิทยา, สุขภาวะองค์รวม, วิชาชีพบัญชี, ไตรสิกขา, ภาวนา 4

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2. เพื่อสร้างรูปแบบพุทธจิตวิทยาสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ระยะที่ 1 การเขียนรูปแบบ และระยะที่ 2 การนำเสนอรูปแบบ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและบทความที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คน การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญพิเศษเพื่อให้การรับรองรูปแบบที่ได้ จำนวน 7 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี มีอยู่หลายทฤษฎีประกอบด้วยหลักพุทธธรรม 2 หลักคือ หลักไตรสิกขา หลักภาวนา 4 และหลักจิตวิทยา 2 หลักคือ หลักทฤษฎีแนวคิดเชิงบวกของ PERMA Model และหลักทฤษฎีการปรับตัวของรอย ซึ่งสอดคล้องเหมาะสมกับการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านปัญญา 2. การสร้างรูปแบบพุทธจิตวิทยาสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นการบูรณาการ 3 ศาสตร์แห่งปัญญาเข้าด้วยกัน คือ พุทธธรรม จิตวิทยาและการประกอบวิชาชีพบัญชี เพื่อได้รูปแบบสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และ 3. รูปแบบพุทธจิตวิทยาสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประบวิชาชีพบัญชีที่ได้จากการวิจัยนี้ คือ “SURIYO Model” ประกอบด้วย 1) Strength ความแข็งแรงเข้มแข็งของร่างกายและจิตใจ 2) Understanding ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง 3) Relationship ความมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและสังคม 4) Integrity ความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ตนเอง ความคิดและการกระทำ 5) Youth ความรู้สึกมีชีวิตชีวาทั้งร่างกายและจิตใต และ 6) Opportunity การเห็นโอกาสทุกชั่วขณะแม้ในวิกฤติ เห็นโอกาสความก้าวหน้าในวิชาชีพเป็นการพัฒนาสร้างเสริมตนเองของผู้ประกอบวิชาชีพ 6 ด้าน เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 ด้าน โดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษได้ให้ความเชื่อมั่นและความสมบูรณ์ของรูปแบบที่ระดับความเห็นเฉลี่ย 4.285 (คะแนนเต็ม 5) ซึ่งแสดงว่ารูปแบบนี้มีค่าความเห็นในการประเมินอยู่ที่ระดับดีถึงดีมากที่สุด สามารถนำไปใช้งานได้

 

References

ชวิน พงษ์ผจญ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกโดยใช้รูปแบบ PERMA กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้คุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งเป็นฐานเพื่อสร้างสุขภาวะของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 47(1), 141-142.

ดวงเนตร ธรรมกุล. (2555). การสร้างสุขภาวะในองค์กร. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(1), 1-10.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม. (2562). ตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ.

พรรณทิพา ชเนศร์. (2561). แบบจำลองพุทธจิตวิทยาการบำบัดดูแลและส่งเสริมสุขภาพองค์รวมในแพทย์แผนไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา.

พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย. (2563). พุทธจิตวิทยาสำหรับคนชายขอบ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 15-29.

พระครูสิริรัตนานุวัตร และคณะ. (2562). รูปแบบและกระบวนการเสริม สร้างสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม (รายงานวิจัย). พิษณุโลก: วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมมงคลวิธาน และคณะ. (2562). การศึกษาตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนามนุษย์. Humanities: Social Sciences and arts, 12(1), 890-892.

พระมหาอุดร สุทธิญาโณ. (2554). ศึกษาสุขภาพองค์รวมวิถีพุทธในพระไตรปิฎก (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พิณนภา หมวกยอด. (2561). การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ราชกิจจานุเบกษา. ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2561. (2561). (เล่ม 135 ตอนพิเศษ 301ง), 19-20.

ราชบัณฑิตสถาน. (2539). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

รัตนะ ปัญญาภา. (2563). ถอดรหัสแนวคิดเพื่อชีวิตแนวพุทธ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ เหลืองศักดิ์ชัย และคณะ. (2562). พุทธวิถี (ไตรสิกขา) : กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อการสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(2), 109-157.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2563). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์แพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.

อนุชา ถาพะยอม. (2563). ผลกระทบของความสามารถในการจัดการความเครียดและทักษะการระหว่างบุคคลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี. วารสารนักบริหาร, 40(1), 31-43.

Goldberger and S. Breznitz.(Eds.). Handbook of Stress: Theoretical and Clinical Aspects. New York: Free Press.

Keeves, J. P. (1988). Education research, Methodology and measurement: An International. handbook, New York: Pergamon.

Richard S.L. Folkman S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer, Publishing Company.

Selye, H. (1993). History and present status of the stress concept. In L.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

สุริโย ส., อุดมธรรมานุภาพ เ., & รักขันโท ส. (2023). รูปแบบพุทธจิตวิทยาสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 9(2), 40–58. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/266543